นุสรา น่วมดำริห์2560-09-122017-09-122559นุสรา น่วมดำริห์. 2559. ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีของ ข้าราชการพลเรือนต่อคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5356มหาวิทยาลัยศรีปทุมการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษ เป็นขั้นตอนในการดำเนินการตามกฎหมาย ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้สิทธิในการอุทธรณ์แก่ผู้ถูกลงโทษทางวินัย อันเป็นมาตรการป้องกันและตรวจสอบ ความถูกต้องอีกระดับหนึ่ง เพื่อให้การพิจารณาลงโทษเป็นไปตามข้อเท็จจริงและตามบทบัญญัติของกฎหมายว่าได้กระทำความผิดจริง ทำให้การทำงานมีการตรวจสอบซึ่งกันและกัน โดยไม่มีองค์กรใดองค์กรหนึ่งมีอำนาจผูกขาดที่จะส่งผลให้การลงโทษเป็นไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งเป็นไปตามครรลอง ในระบอบประชาธิปไตย (Regime of Democracy) สารนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีของข้าราชการพลเรือนต่อคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐหรือคณะกรรมการ ป.ป.ท. (The National Counter Corruption Commission in Government Sector) เพื่อศึกษาแนวทางในการตรวจสอบหรือถ่วงดุล (Checks and Balances) คำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป.ป.ท.ตามพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 เพื่อเป็นหลักประกันความเป็นธรรมให้แก่ข้าราชการพลเรือนต่อไปthการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีข้าราชการพลเรือนคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของคณะกรรมการ ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐTO APPEAL OR FILE LAWSUITCIVIL OFFICERปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการอุทธรณ์หรือฟ้องคดีของ ข้าราชการพลเรือนต่อคำวินิจฉัยชี้มูลความผิดของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐLEGAL PROBLEMS RELATED TO APPEAL OR FILE A LAWSUIT OF CIVIL OFFICER AGAINST THE NATIONAL COUNTER CORRUPTION COMMISSION IN GOVERNMENT SECTOR EXPRESSING PRIMA FACIE CASEArticle