ชญานิศ ภาชีรัตน์2563-02-112563-02-112020-02-112020-02-112562ชญานิศ ภาชีรัตน์. 2562. "กฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา." วิทยานิพนธ์นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6559นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมการวิจัยมีวัตถุประสงค์ในการจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สืบเนื่องจากปัญหาข้อพิพาททางอาญาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งระบบ เพื่อทำให้ปริมาณคดีขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง ลดปัญหาความขัดแย้ง เกิดความสมานฉันท์ขึ้นในสังคม ลดงบประมาณแผ่นดิน และเสริมสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข จึงนำมาสู่การจัดทำกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อกำหนดเป็นกฎหมายกลางให้หน่วยงานของรัฐ พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ศาลที่มีอำนาจในการพิจารณาคดีอาญา รวมทั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนใช้ในการระงับข้อพิพาททางอาญาบางประเภท โดยวิเคราะห์กฎหมายภายใน กฎหมายต่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศ และใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การมีส่วนร่วมออกแบบ-ร่วมออกแบบ และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็น ทำให้ได้มาซึ่งวิธีการระงับข้อพิพาทที่สามารถจะทำให้คดีอาญาลดลงไปได้ทุกขั้นตอนของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา โดยมีโครงสร้างประกอบด้วย การไกล่เกลี่ย การชะลอฟ้อง การสั่งไม่ฟ้องคดีที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ การเจรจาต่อรอง อันนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562thการระงับข้อพิพาทอาญากระบวนการยุติธรรมกฎหมายต้นแบบกฎหมายต้นแบบว่าด้วยการระงับข้อพิพาทในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาMODEL LAW ON DISPUTE SETTLEMENT IN CRIMINAL JUSTICE PROCESSThesis