ภูวดล ภูวงแหวน อนันต์ จันเสนา ภรชัย จูอนุวัฒนกุล กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์2563-11-172020-11-172563-10-28ภูวดล ภูวงแหวน อนันต์ จันเสนา ภรชัย จูอนุวัฒนกุล กษิเดช ทิพย์อมรวิวัฒน์-https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7046โปรแกรม DIGSILENT PowerFactory ถูกใช้ในการจำลองระบบไฟฟ้าของหมู่บ้าน เพื่อใช้ในการออกแบบขนาดหม้อแปลงและขนาดสายให้มีความสัมพันธ์กับจำนวนบ้านอยู่อาศัย เพื่อรองรับปริมาณการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคตปัจจุบันแนวโน้มการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้าแทนรถยนต์ที่ใช้น้ำมันหรือแก๊สได้รับความนิยมมากขึ้น เนื่องจากยานยนต์ไฟฟ้าสามารถช่วยลดมลภาวะต่างๆ และมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผลที่ตามมาคือทำให้มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสำหรับการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อระบบจำหน่ายในเรื่องของระดับแรงดันไฟฟ้าของระบบและการรับโหลดของหม้อแปลงไฟฟ้า บทความนี้เป็นการนำเสนอการวิเคราะห์ผลกระทบของการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่าย โปรแกรม DIGSILENT PowerFactory ถูกใช้ในการจำลองระบบไฟฟ้าของหมู่บ้านแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี ในการวิเคราะห์ผลกระทบของการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าโดยพิจารณาถึงระดับแรงดันไฟฟ้าและการรับโหลดของหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อหาจำนวนยานยนต์ไฟฟ้าสูงสุดที่สามารถชาร์จได้ ผลของการจำลองพบว่าค่ากำลังไฟฟ้ารวมและค่ากระแสไฟฟ้าจะแปรตามจำนวนการชาร์จของยานยนต์ไฟฟ้าและระบบจำหน่ายในปัจจุบันนั้นสามารถรองรับการชาร์จของยานยนต์ไฟฟ้าได้ 1 คันต่อหลังคาเรือน ซึ่งได้พิจารณาการชาร์จที่โหลดของหม้อแปลงไม่เกิน 80% ในอีกความหมายหนึ่งคือหากเกิดเหตุการณ์ที่มีการชาร์จตามครัวเรือนเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย ระบบจำหน่ายก็ยังสามารถรองรับการชาร์จได้ยานยนต์ไฟฟ้า การชาร์จยานยนต์ไฟฟ้า ระดับแรงดันไฟฟ้า การปรับโหลดของหม้อแปลงไฟฟ้า-การวิเคราะห์ผลกระทบของการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคการวิเคราะห์ผลกระทบของการชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าที่เชื่อมต่อกับระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค