สุทธิวัฒน์ มั่งคั่งชัยศิษฏ์ จันทร์ฉาย2560-02-102017-02-102560สุทธิวัฒน์ มั่งคั่ง และชัยศิษฏ์ จันทร์ฉาย. 2556. "ความสัมพันธ์ระหว่าง DGA กับ FURAN ในน้ำมันหม้อแปลง." ผลงานนักศึกษาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4814หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมโครงงานนี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่าง ก๊าซที่ละลายในน้ำมันหม้อแปลง สารประกอบ Furan และการกัดกร่อน ด้วยทฤษฎีของฟัซซี โดยทำการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ซึ่งมาตรฐานได้กำหนดไว้ดังนี้ ด้วยอัตราส่วนของ CO2/CO ที่ละลายในน้ำมัน จะเป็นตัวบ่งชี้ถึงความร้อนที่เกิดขึ้นภายในหม้อแปลง ซึ่งจะส่งผลต่อการสลายตัวของเซลลูโลส หากอัตราส่วน CO2/CO มีค่ามากกว่า 7 ถือว่าปกติ แต่ถ้าอัตราส่วน CO2/CO มีค่าเท่ากับ 4-6 อาจจะเกิดการย่อยสลายเซลลูโลสหรือเกิดก๊าซ CO, H2, CH4 และ C2H6 ขึ้นได้ และหากอัตราส่วน CO2/CO มีค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า 3 จะถือว่าเกิดความผิดปกติขึ้นภายในหม้อแปลง และในขณะเดียวกันก็จะทำให้เกิดสารประกอบ Furan และ Corrosive ขึ้นในน้ำมันหม้อแปลงด้วย ในการทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนของ CO2/CO, สารประกอบFuran และการกัดกร่อน ในน้ำมัน ได้ใช้ข้อมูลผลการทดสอบจากตัวอย่างหม้อแปลงจำนวน 20 ตัวอย่าง (ซึ่งมีกำลังไฟฟ้าหลายขนาด) พบว่าเมื่ออัตราส่วนของ CO2/CO มีค่าตั้งแต่ 7 ขึ้นไป ปริมาณของสารประกอบ Furan และ Corrosive มีค่าน้อยหรือต่ำกว่าเกณฑ์กำหนด ซึ่งถือว่าหม้อแปลงอยู่ในสภาพปกติ แต่ถ้าอัตราส่วน CO2/CO มีค่าระหว่าง 4-6 ปริมาณสารประกอบ Furan และ Corrosive ก็จะมีค่าสูงขึ้น ซึ่งอยู่ในระดับการเฝ้าระวังและติดตามผลการทดสอบให้มีความถี่มากขึ้น และถ้าอัตราส่วน CO2/CO มีค่าเท่ากับหรือน้อยกว่า 3 ปริมาณของสารประกอบ Furan และ Corrosive สูงมากเกินเกณฑ์กำหนดปกติ ซึ่งควรจะต้องทำการตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้าอย่างเร่งด่วนต่อไปotherหม้อแปลงไฟฟ้าน้ำมันหม้อแปลงทฤษฎีของฟัซซี่ลอจิกหาความสัมพันธ์ระหว่าง DGA กับ FURAN ในน้ำมันหม้อแปลงTHE RELATION OF DISSOLVED GAS ANALYSIS AND FURANIC COMPOUND IN TRANSFORMER OILOther