เบญจวรรณ เอกเผ่าพันธุ์2560-02-222017-02-222558ปีการศึกษา 2558https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4850หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมการศึกษาพบว่าควรทำการแก้ไขปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมธุรกิจสักเจาะร่างกาย โดยบัญญัติกฎหมายเกี่ยวกับศิลปะบนร่างกายที่หมายความรวมถึงการสักเจาะร่างกายขึ้นเป็นการเฉพาะ กำหนดนิยามของคำว่าการสักเจาะร่างกาย รายละเอียดสิ่งที่สถานประกอบการต้องมี รวมถึงหลักเกณฑ์การขออนุญาตให้ชัดเจน ให้หน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญด้านอาชีวอนามัยเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายนี้ และให้จัดตั้งสมาพันธ์วิชาชีพขึ้นมากำกับดูแลด้านจรรยาบรรณ มีหน้าที่จัดให้มีหลักสูตรการฝึกอบรมการสักเจาะร่างกายขึ้นมาโดยเฉพาะ และร่วมมือกับรัฐในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบการ โดยห้ามมิให้สักหรือเจาะร่างกายแก่ผู้ที่อายุยังไม่ครบ 20 ปี บริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ปกครองให้การยินยอม หรือมีความจำเป็นทางการแพทย์ กำหนดชนิดของโรคหรือความเสี่ยงอื่น ๆ ที่ห้ามมิให้กระทำการไว้ และให้มีการบันทึกรายละเอียดการปฏิบัติงานไว้เป็นหลักฐานด้วย อีกทั้งกำหนดให้อุปกรณ์หลักในการสักเจาะร่างกาย ได้แก่ เครื่องสัก และปืนเจาะร่างกาย หรือสิ่งที่มีลักษณะการใช้งานอย่างเดียวกัน อยู่ในมาตรฐานของเครื่องมือแพทย์ และกำหนดให้หมึกสัก สีสัก หรือสารสี ที่ใช้สำหรับการสักลายและเครื่องประดับที่ใช้กับบริเวณที่เจาะ เป็นเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ที่ต้องปราศจากเชื้อตามมาตรฐานของเครื่องสำอาง รวมถึงกำหนดโทษสำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์การสัก หรือเจาะร่างกายไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีเจตนาที่จะใช้กับผู้อื่นด้วยotherการสักเจาะร่างกายการใช้อำนาจรัฐในการควบคุมธุรกิจหลักเสรีภาพในการทำสัญญาธุรกิจการสักเจาะร่างกายปัญหากฎหมายเกี่ยวกับธุรกิจสักเจาะร่างกายLEGAL PROBLEMS RELATING TO THE TATTOOS AND BODY PIERCINGS BUSINESSArticle