สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์2553-04-232553-04-232552http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1678เครื่องกำจัดกลิ่นและแก๊สพิษ ซึ่งประกอบด้วยระบบย่อยคือ 1. ระบบการออกซิไดส์โดยใช้แก๊สโอโซนจากเครื่องกำเนิดโอโซนชนิดโคโรนาดิสชาร์จเป็นตัวออกซิไดส์ สามารถผลิตแก๊สโอโซนได้ในปริมาณ 76.33 มิลลิกรัมโอโซนต่อลิตรของออกซิเจน ซึ่งเป็นความเข้มข้นเพียงพอสำหรับกำจัดกลิ่นและแก๊สพิษโดยเฉพาะไฮโดรเจนซัลไฟด์ และมีความเข้มข้นมากเกินพอในการฆ่าเชื้อโรค โดยการผ่านแก๊สโอโซนเข้าไปในถุง ที่มีไว้เพื่อบรรจุศพหรือสิ่งของอย่างอื่นที่ต้องการกำจัดกลิ่นและฆ่าเชื้อโรค 2. ระบบการดักกลิ่นและฆ่าเชื้อโรคโดยใช้กรดหรือเบสและน้ำ เพื่อฆ่าเชื้อโรคซึ่งปนอยู่กับอากาศที่เหลือจากการออกซิไดส์ก่อนผ่านต่อไปยังระบบดูดซับ 3. ระบบการดูดซับซึ่งบรรจุถ่านกัมมันต์ประสิทธิภาพสูงทำหน้าที่เป็นตัวดูดซับ โดยงานวิจัยนี้เน้นศึกษาวิธีการเพิ่มความจุในการดูดซับของไฮโดรเจนซัลไฟด์ด้วยถ่านกัมมันต์ที่ได้จากกะลามะพร้าวนำมาปรับปรุงโดยเทคนิคการออกซิไดส์และเติมโลหะ ทำให้ประสิทธิภาพการดูดซับของถ่านตัวอย่างที่ถูกออกซิไดส์ด้วยกรดไนตริกและเติมโลหะเพิ่มขึ้นร้อยละ 230 (24.72 มิลลิกรัม-ไฮโดรเจนซัลไฟด์/กรัม-ตัวดูดซับ) ซึ่งมากกว่าปริมาณการดูดซับของถ่านตัวอย่างที่ยังไม่ได้ปรับปรุง ณ อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส ส่วนถ่านตัวอย่างที่ถูกออกซิไดส์ด้วยโอโซนและเติมโลหะ พบว่ามีการเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดซับสูงสุดถึงร้อยละ180 (19.24 มิลลิกรัม-ไฮโดรเจนซัลไฟด์/กรัม-ตัวดูดซับ) ทำให้สามารถดูดซับกลิ่นและแก๊สพิษที่เหลือจากระบบการออกซิไดส์และดักกลิ่น ก่อนปล่อยอากาศปลอดมลพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมการดูดซับถ่านกัมมันต์การออกซิไดส์โอโซนไฮโดรเจนซัลไฟด์AdsorptionActivated carbonOxidationOzoneHydrogen sulfideการศึกษาความเป็นไปได้ทางเทคนิคในการผลิตเครื่องกำจัดกลิ่นและแก๊สพิษA Technical Feasibility Study on Odorous Eliminator