หัฏฐริภิม ณมงคลบุญวงษ์2554-09-152554-09-152554-09-15https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2823การที่สภาพเศรษฐกิจและสถานการณ์สังคมปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปมีการแสวงหาผลประโยชน์ในด้านต่างๆ แม้แต่จากภาครัฐเองก็มีการแสวงหาผลประโยชน์ ในส่วนของเงินกองทุนประกันสังคมที่ลูกจ้าง นายจ้างและรัฐได้ร่วมกันสมทบเข้ากองทุนเพื่อเป็นหลักประกันที่สร้างความมั่นคงในการดารงชีวิตของลูกจ้างและครอบครัว แต่มาตรการบังคับที่สานักงานประกันสังคมมีอยู่ไม่เพียงพอ โดยเฉพาะการที่ลูกจ้างแฝง ลูกจ้างเทียมและผู้เกี่ยวข้องได้ยื่นแบบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนนาส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมอันเป็นเท็จ โดยข้อเท็จจริงแล้วปรากฏว่ามิได้เป็นนายจ้าง ลูกจ้างกันแต่อย่างใด จึงทาให้เป็นการแสวงหาประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมอันมิชอบด้วยกฎหมาย และผลประโยชน์ของนายจ้าง ลูกจ้างและของรัฐเป็นอย่างมาก ดังนั้นในปัญหานี้ผู้ศึกษาเห็นว่าควรที่จะมีการแก้ไขกฎหมายให้ลงโทษบุคคลดังกล่าวในสถานหนักและควรนาหลักความรับผิดโดยเด็ดขาดมาใช้ โดยเฉพาะพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ยังมีจุดบกพร่องบางประการที่ต้องการให้มีการแก้ไขโดยเร็วในประเด็นมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ไม่มีบัญญัติลงโทษลูกจ้างแฝง ลูกจ้างเทียม และผู้เกี่ยวข้อง และเพิ่มบทลงโทษกรณีฉ้อโกงตามหลักประมวลกฎหมายอาญา อันเป็นความผิดเฉพาะในกฎหมายประกันสังคม รวมทั้งแยกความผิดออกต่างหากจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา และเพิ่มบทลงโทษในกรณีที่มีความผิดเพื่อการละเมิด ตามหลักประมวลแพ่งและพาณิชย์ ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการกระทาละเมิดอันเกิดจากกระทาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไว้ในกฎหมายประกันสังคมเป็นกรณีพิเศษเพื่อเป็นลงโทษบุคคลดังกล่าวการควบคุมการแสวงหาผลประโยชน์ลูกจ้างกองทุนประกันสังคมพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการแสวงหาประโยชน์ของลูกจ้างแฝง ลูกจ้างเทียมและผู้เกี่ยวข้องตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533Thesis