วริสรา เลิศไพฑูรย์พันธ์สุรพันธ์ สันติยานนท์2566-05-022023-05-022566-04https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9128คอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ (CLC) ที่แตกหักเสียหายจากการผลิต การขนย้าย รวมทั้งเศษเหลือจากการตัด เป็นขยะที่จะต้องขนทิ้ง ซึ่งเสียค่าใช้จ่ายและเป็นภาระต่อพื้นที่ฝังกลบ การผลิต CLC ก็ต้องใช้ซีเมนต์และทรายที่เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วหมด หากสามารถนาเศษ CLC กลับมาใช้ใหม่เพื่อเป็นวัสดุก่อสร้างก็จะเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและตอบสนองต่อโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (BCG Economy) งานวิจัยนี้จึงนาเศษ CLC ที่บดละเอียด ผสมกับสารกระตุ้น (Activating Solution) คือโซเดียมไฮดรอกไซด์และโซเดียมซิลิเกต เพื่อพัฒนาเป็นวัสดุเบาก่อผนังแทน CLC ชนิด C16 ที่ต้องมีค่ากาลังต้านแรงอัดไม่น้อยกว่า 51 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร โดยใช้ความเข้มข้นของโซเดียมไฮดรอกไซด์ 5 และ 7.5 โมลาร์ และมีอัตราส่วนของ เศษ CLC: สารกระตุ้น เป็น 1: 1.5 ผลการวิจัยพบว่า ก้อนตัวอย่าง มีค่าความต้านแรงอัดสูงสุด (ที่ 28 วัน) เท่ากับ 115 และ 99 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร สาหรับส่วนผสมที่ใช้ความเข้มข้นโซเดียมไฮดรอกไซด์ เท่ากับ 5 และ 7.5 โมลาร์ ตามลาดับ และมีความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 1,600-1,650 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทุกระยะเวลาการบ่มAlkali-Activated Masonry Units Using Crushed Cellular Lightweight Concrete to Fully Replace Cement and Natural Sandวัสดุก่อผนังจากเศษคอนกรีตบล็อกมวลเบาแบบเติมฟองอากาศ กระตุ้นด้วยอัลคาไลเพื่อทดแทนการใช้ซีเมนต์และทรายจากธรรมชาติ