ฉัตร สุจินดา2551-02-032551-02-032550-10-24https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/656ในปัจจุบันการผลิตเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตด้วยวิธี Temper Core สามารถเพิ่มหน่วยแรงดึงที่จุดครากของเหล็กเส้นที่ผลิตให้มีค่าสูงโดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตมากนัก ซึ่งผู้ผลิตหลายรายเลือกที่จะผลิตเหล็กเส้นดังกล่าวให้มีหน่วยแรงดึงที่จุดครากให้สูงกว่าค่าที่ระบุไว้ในมาตรฐานมาก อย่างไรก็ตามการใช้เหล็กเสริมที่มีความสามารถในการรับแรงดึงเกินกว่าค่าที่ใช้คำนวณออกแบบมากเกินไป อาจทำให้เกิดผลเสียต่อชิ้นส่วนโครงสร้างโดยเฉพาะเหล็กเสริมที่ใช้รับโมเมนต์ดัด สาเหตุเนื่องมาจากการที่เหล็กเส้นดังกล่าว อาจทำให้ชิ้นส่วนโครงสร้างเปลี่ยนพฤติกรรมการพังจากแบบแบบเหนียว (ตามที่ได้ออกแบบไว้) มาเป็นแบบเปราะแทน บทความนี้ได้นำเสนอถึงการศึกษาทางพารามิเตอร์เพื่อหาค่าหน่วยแรงที่จุดครากสูงสุด ที่ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมของการพังของชิ้นส่วนโครงสร้าง จากการศึกษาในครั้งนี้ ได้แนะนำหน่วยแรงดึงที่จุดครากสูงสุด จะต้องไปเกิน 13% ของค่ากำลังที่ระบุในชั้นคุณภาพนั้น ๆMAXIMUM YEILD STRESSESOVERLY HIGH YEILD STRESS REBARSPARAMETRIC STUDYREBAR STANDARDSREINFORCED CONCRETE DESIGN CODE IMPROVEMENTSการศึกษาทางพารามิเตอร์เพื่อหาค่าหน่วยแรงที่จุดครากสูงสุดที่เหมาะสมA Parametric Study for Determining an Appropriate Maximum Yield StressTechnical Report