กวินศรินยา รองเรืองแย้ม2560-09-282017-09-282560กวินศรินยา รองเรืองแย้ม. 2560. "แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จักรยาน ในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5402กวินศรินยา รองเรืองแย้ม. แนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จักรยาน ในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศ. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตมหาบัณฑิตกลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2560.ปัจจุบันจำนวนการใช้จักรยานและจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดกับการใช้จักรยานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่กฎหมายเกี่ยวกับจักรยานที่ใช้อยู่ในประเทศไทยนั้นไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ เนื่องจากเป็นกฎหมายเก่าที่ยังมิได้มีการแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ผู้เขียนจึงมีความประสงค์จะวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาการใช้จักรยานและมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จักรยานในประเทศไทยโดยเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับจักรยานในประเทศไทยให้ทันสมัยและเหมาะสมต่อไป ในการทำสารนิพนธ์นี้ ผู้เขียนพบปัญหาและอุปสรรคสำคัญของการใช้จักรยานในประเทศไทยหลายประการ เช่น สภาพพื้นผิวการจราจร ลักษณะโครงสร้างพื้นฐานและผังเมืองในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยต่อการปั่นจักรยานประกอบกับการจัดทำเส้นทางจักรยานยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และกฎหมายที่ใช้ในปัจจุบันยังมีข้อบกพร่องอื่นๆ อีกหลายประการได้แก่ บทบัญญัติไม่ชัดเจน ไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ปัจจุบัน การบังคับใช้กฎหมายยังขาดประสิทธิภาพ และการชดใช้ค่าเสียหายที่ไม่เป็นธรรม ในขณะที่ต่างประเทศมีกฎหมายและมาตรการในการบริหารจัดการที่ทันสมัยกว่า เช่น ประเทศอิตาลีและประเทศฮังการีมีกฎหมายและมาตรการสนับสนุนในการจัดทำโครงการเมืองจักรยานรวมทั้งมีการส่งเสริมและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพสำหรับจักรยานเช่นเดียวกันกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่มีการจัดตั้ง CYCLOCITY เพื่อให้ประชาชนยืมใช้จักรยานได้อย่างสะดวก ส่วนในประเทศอังกฤษก็มีการส่งเสริมการใช้จักรยานโดยใช้มาตรการจูงใจทางภาษีมาสนับสนุน รวมถึงมีการจัดตั้งสถาบันส่งเสริมการใช้จักรยานดังเช่นในกรณีของประเทศญี่ปุ่น และที่ก้าวหน้าไปกว่านั้นก็คือมีการจัดตั้งสมาพันธ์ผู้ปั่นจักรยานในสหภาพยุโรปขึ้นมาอย่างเป็นทางการนอกจากนี้ยังพบว่าประเทศต่างๆที่ได้ทำการศึกษาวิจัยมีการกำหนดบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการใช้จักรยานไว้ค่อนข้างชัดเจน ทั้งในเรื่องของข้อกำหนด การลงโทษและการเยียวยาความเสียหายthจักรยานผู้ใช้จักรยานกฎหมายจักรยานการส่งเสริมการใช้จักรยานแนวทางการพัฒนามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้จักรยาน ในประเทศไทย : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายต่างประเทศLEGAL MEASURE DEVELOPMENT RELATING TO USING BICYCLE IN THAILAND : COMPARISON STUDY WITH FOREIGN LAWSOther