อานนท์ พรหมศิริ2563-11-132020-11-132563-07-31อานนท์ พรหมศิริ. 2563. “แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการยศาสตร์กับการออกแบบภายในเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีความปกติรูปแบบใหม่ยุคหลังโควิด-19”. งานประชุมวิชาการ SPU Educational transformation to the new normal. วันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2563. หน้า 310 – 320(e-Book) 978-974-655-467-1https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7043คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, 2563บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการยศาสตร์กับการออกแบบภายในเพื่อให้เนื้อ หาสอดคล้องกับวิถีความปกติรูปแบบใหม่ยุคหลังโควิด-19 (Post COVID-19) โดยมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงไปของสภาพแวดล้อม พฤติกรรม และสังคมของมนุษย์หลังสถานการณ์โรคระบาด ทำให้เกิดแนวทางการดำรงชีวิตในรูปแบบความปรกติใหม่ หรือ New normal อันเป็นผลมาจากการปรับหาวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อ ควบคู่ไปกับความพยายามรักษาและฟื้นฟูศักยภาพทางเศรษฐกิจและธุรกิจ นำไปสู่การสรรค์สร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ มีการปรับแนวคิด วิสัยทัศน์ วิธีการจัดการ ตลอดจนพฤติกรรมที่เคยทำมาเป็นกิจวัตร เกิดการบ่ายเบนเบนออกจากความคุ้นเคยอันเป็นปกติมาแต่เดิมในหลายมิติ ทั้งในด้านอาหาร การแต่งกาย การรักษาสุขอนามัย การศึกษาเล่าเรียน การสื่อสาร การทำธุรกิจ ฯลฯ โดยสิ่งใหม่เหล่านี้ได้กลายเป็นความปกติรูปแบบใหม่จนในที่สุด ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้มีกระทบโดยตรงกับสภาพแวดล้อม พฤติกรรมของมนุษย์ที่นำไปสู่การออกแบบพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม และการออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน โดยจากการศึกษาข้อมูลแนวทางการดำรงชีวิตในรูปแบบความปรกติใหม่นั้นสามารถสรุปแนวทางหรือหลักเกณฑ์การยศาสตร์เพื่อการออกแบบภายในได้เป็นสาระสำคัญ 6 หัวข้อใหญ่ คือ การลดความหนาแน่น การเว้นระยะห่างทางสังคม การแบ่งเขตการใช้พื้นที่ การสัญจร ระบบถ่ายเทอากาศและการลดการสัมผัส ซึ่งจะนำไปสู่การนำเสนอการเรียนรู้ในกับนักศึกษาเพิ่มเติมจากบทเรียนพื้นฐานและเป็นชุดองค์ความรู้พื้นฐานที่สำคัญต่อการเรียนและการออกแบบในยุคปัจจุบันและอนาคตต่อไปการยศาสตร์กับการออกแบบภายในวิถีความปกติรูปแบบใหม่ยุคหลังโควิด-19Ergonomics for interior designNew normalPost COVID-19แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการยศาสตร์กับการออกแบบภายในเพื่อให้สอดคล้องกับวิถีความปกติรูปแบบใหม่ยุคหลังโควิด-19THE LEARNING MANAGEMENT FOR ERGONOMICS FOR INTERIOR DESIGN IN ACCORDANCE WITH NEW NORMAL OF PRACTICES POST COVID-19Article