สุธีเทพ ศักดิ์พันธ์พนม2554-09-262554-09-262552http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3162วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาที่ปรากฎในร่างพระราชบัญญัติค้าปลีกส่ง ใน พ.ศ. 2550 ธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจที่อยู่ในบัญชีสามประกอบด้วยธุรกิจสงวน จำนวน 21 รายการ เป็นธุรกิจที่คนไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะแข่งขันในการประกอบธุรกิจกับคนต่างด้าว ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 แต่คนต่างด้าวก็ยังคงสามารถเข้ามาประกอบธุรกิจค้าปลีกในประเทศไทยได้เต็มที่ด้วยการใช้วิธีการถือหุ้นโดยคนไทย จึงทำให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลไทยสามารถประกอบธุรกิจค้าปลีกได้โดยไม่เข้าข้อยกเว้น ทั้งนี้ทำให้ธุรกิจค้าปลีกต่างด้าวขนาดใหญ่เข้ามาขยายสาขาในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว จากการศึกษาประเทศไทยเองก็ยังไม่มีกฎหมายที่มาดูแลควบคุมธุรกิจประเภทนี้โดยเฉพาะ ที่ผ่านมาได้นำเอากฎหมายด้านผังเมืองและควบคุมอาคารมาใช้ในการจำกัดการขยายสาขา และพระราชบัญญัติแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 แต่ก็ไม่สามารถขจัดปัญหาที่เกิดขึ้นได้เนื่องจากมีช่องโหว่ของกฎหมายอีกทั้งกฎหมายอีกทั้งกฎหมายที่นำมาใช้นั้นก็ไม่ได้เกี่ยวกับปัฐหาที่เกิดขึ้นโดยตรง ทำให้ค้าปลีกดั้งเดิมของคนไทย หรือโชวห่วยได้รับผลกระทบอย่างมากจึงต้องปิดกิจการไป จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในเรื่องการค้าปลีกนั้นไม่สามารถแก้ไขโดยใช้กฎหมายที่มีอยู่ได้ รัฐบาลจำเป็นต้องมีการประกาศใช้กฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อควบคุมธุรกิจประเภทนี้โดยเฉพาะ ซึ่งได้มีการจัดร่างพระราชบัญญัติ ค้าปลีกขึ้นมา และกำลังอยู่ในระหว่างการพิจารณาหากร่างพระราชบัญญัตินี้ได้ประกาศให้มีผลบังคับใช้ก็จะช่วยจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดพร้อมกับต้องมีนดยบายส่งเสริมพัฒนาประสิทธิภาพการค้าปลีกของคนไทยให้เข้มแข็งขึ้นด้วยเพื่อที่จะแข่งขันกับค้าปลีกต่างชาติได้ธุรกิจค้าปลีกกฎหมายธุรกิจนิติศาสตรมหาบัณฑิตมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจค้าปลีกThe legal measures on retail businessThesis