ชนกพร ไผทสิทธิกุล2555-02-072555-02-072555-01https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/3187การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม โดยศึกษาองค์ประกอบต่างๆ เช่นความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนและแม่น้ำ สภาพกายภาพของชุมชน ผังหมู่บ้านและเรือนพื้นถิ่น ตลอดจนวิถีชีวิต คติความเชื่อ ประเพณีและพิธีกรรม ตลอดจนผลกระทบและความเปลี่ยนแปลง เพื่อนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์ของชุมชนจำนวน 3 ชุมชนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำกก จังหวัดเชียงราย คือชุมชนบ้านรวมมิตร ชุมชนบ้านจะคือ และชุมชนแม่สลัก โดยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงค้นพบ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยทำการสำรวจภาคสนาม และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและการอธิบาย จากการศึกษาพบว่าทั้ง 3 ชุมชนที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ล้วนมีความสัมพันธ์กับแม่น้ำ ทั้งวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ตลอดจนการดำรงชีพ เนื่องจากชุมชนส่วนใหญ่ดำรงชีพด้วยการเกษตรกรรมและกสิกรรม ตลอดจนมีประเพณี พิธีกรรมทางด้านความเชื่อต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแม่น้ำ และปัจจุบันชุมชนเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจากผลกระทบในด้านต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาทั้งทางด้านสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์ ปัญหาด้านวัฒนธรรม ซึ่งส่งผลกับวิถีชีวิตทั้งด้านกายภาพและจิตใจ ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าควรมีการกำหนดแนวทางการอนุรักษ์ในระยะสั้นและระยะยาว โดยดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานด้านการอนุรักษ์ ทั้งนี้ควรให้เป็นไปตามรูปแบบลักษณะเฉพาะตัวของชุมชน ตามอัตลักษณ์และชาติพันธุ์ที่อาศัยในชุมชน ตลอดจนสร้างความเข้าใจ และตระหนักต่อคุณค่าทรัพยากรทางวัฒนธรรม เพื่อให้ชุมชนสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเองเพื่อรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่น คุณค่าทางวัฒนธรรม และเพื่อความยั่งยืนของชุมชนอย่างแท้จริงอนุรักษ์สภาพแวดล้อมวัฒนธรรมแม่น้ำกกการอนุรักษ์ชุมชนและสภาพแวดล้อมทางวัฒนธรรม ริมแม่น้ำกก จังหวัดเชียงรายThe Conservation of Community and Cultural Environment : Maekok River Bank Chiang Rai Province