เสรี พุกกะมาน2554-07-122554-07-122553-11https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/2446รายงานการวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องอาสันนกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท งานวิจัยพบว่า กรรมหรือการกระทำที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการกำหนดชีวิตและส่งผลให้ชีวิตสืบต่อไปไม่สิ้นสุด จนกว่าจะถูกทำลายลงด้วยอาสวักขยญาณ( ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ) มีความครอบคลุมทั้งกุศลกรรมและอกุศลกรรม ยกเว้นกรรมหรือการกระทำของพระอรหันต์ที่จะไม่ส่งผลให้เกิดใหม่อีกต่อไป เนื่องจากกรรมหรือการกระทำของท่านไม่มีอุปาทานเข้าไปปรุงแต่ง งานวิจัยยังพบอีกว่า อรรถกถา(หนังสืออธิบายพระไตรปิฎก)ที่พระพุทธโฆสะแต่ง ได้กล่าวถึงกรรม 12 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 กล่าวถึงเวลาที่กรรมให้ผล กลุ่มที่ 2 กล่าวถึงหน้าที่ของกรรม และกลุ่มที่ 3 กล่าวถึงลำดับการให้ผลของกรรม ทั้งหมดแบ่งโดยยึดกุศลกรรมและอกุศลกรรมที่กล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเป็นหลัก อาสันนกรรมในงานวิจัยนี้ จัดอยู่ในกลุ่มที่ 3 ของกรรม 12 และผู้วิจัยได้ให้คำจำกัดความไว้ 2 ประการ คือ 1) การกระทำในเวลาใกล้ตาย และ 2) การกระทำที่ทำไว้นานแล้ว แต่ผู้ทำหวนระลึกได้ตอนใกล้ตาย ซึ่งครอบคลุมทั้งฝ่ายกุศลกรรมและอกุศลกรรม จากการวิจัยพบว่า อาสันนกรรมเป็นสะพานเชื่อมต่อชีวิตเก่าตอนใกล้ตายกับชีวิตใหม่หลังตาย เนื่องจากทำหน้าที่ให้กำเนิดชีวิตใหม่ทันทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ คนเราจึงสามารถเลือกเกิดได้ ซึ่งอยู่บนเงื่อนไขของอาสันนกรรมว่าเป็นประเภทใด เป็นกุศลหรืออกุศลกรรมกฎแห่งกรรมอาสันนกรรมพระพุทธศาสนาเถรวาทการเกิดใหม่การศึกษาวิเคราะห์เรื่องอาสันนกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาทAn Analytical Study of the Asannakamma (Proximate Kamma) in Theravada Buddism