เอกชน โฉมสอาด2562-03-092019-03-092562-03-09https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6109บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน บริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับความผูกพันต่อองค์กรจำแนกตามปัจจัยด้าน ประชากรศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาระดับอิทธิพลของค่านิยมในการทำงานที่มีต่อความผูกพันในองค์กร ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจากบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ กลุ่มตัวอย่าง 120 คน จากจำนวนประชากร 172 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการและแบบ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยค่านิยมในด้านความก้าวหน้า ด้านความอิสระในการทำงานมีผล เชิงบวกต่อความผูกพันขององค์กรด้านจิตใจ ด้านการคงอยู่ และด้านบรรทัดฐานเนื่องจากบริษัทมี การบริหารงานโดยให้ความอิสระในการทำงานอย่างมาก ด้านการมีส่วนร่วมในการบริหารงาน ด้านสภาพการทำงานมีผลเชิงลบซึ่งอาจมาจากการที่พนักงานมีส่วนร่วมที่มากเกินไปอาจทำให้เกิด ความขัดแย้งระหว่างพนักงานกับหัวหน้างานก่อให้เกิดความตึงเครียดและความผูกพันในองค์การ เวลาประชุมทำให้พนักงานไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นอาจจะเป็นเพราะไม่ค่อยได้รับโอกาสในการ นำไปใช้งานจริง การที่จะทำให้สถานที่ทำงานของบริษัทมีความเป็นระเบียบเรียบร้อยและมีรูปแบบ ที่เหมาะสมต่อกระบวนการทำงานนั้นบริษัทจะต้องใช้พนักงานจำนวนมากเข้าไปเคลียร์พื้นที่อาจจะ ทำให้พนักงานมองว่าจะเป็นการเพิ่มงานให้กับพนักงานจึงไม่เห็นด้วย บริษัทควรใช้ผู้รับเหมาเข้ามา ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขสภาพการทำงานthการทำงานค่านิยมในการทำงานความผูกพันต่อองค์กรผลกระทบของค่านิยมในการทำงานที่มีต่อความผูกพันในองค์กร: กรณีศึกษา บริษัท ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรีTHE IMPACT OF WORK VALUES ON ORGANIZATIONAL COMMITMENT: A CASE STUDY OF AN AUTO-PART COMPANY IN CHONBURI PROVINCEThesis