เทพฤทธิ์, ทองชุบ2552-05-262552-05-262551http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1472การคำนวณค่าภาระการทำความเย็นมีปัจจัยทีเกี่ยวข้องหลายประการ ขั้นตอนการคำนวณมีความซับซ้อน เนื่องจากอิทธิพลของการสะสมความร้อนในส่วนต่างๆ ของพื้นที่ ทำให้การคำนวณค่อนข้างที่จะยุ่งยาก ทำให้มีการคิดค้นวิธีการต่างๆ ขึ้นมา เพื่อให้มีความสะดวกในการใช้งานจริง ซึ่งวิธีที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป คือ วิธี CLTD แต่เนื่องจากการทำขั้นตอนการคำนวณให้ง่ายขึ้น จะต้องมีการกำหมดสมมุติฐานขึ้นหลายข้อ ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนขึ้นในผลลัพธิ์ที่ได้ แต่ในปัจจุบัน เทคโนโลยีได้มีการพัฒนาไปมาก คอมพิวเตอร์สามารถช่วยในการคำนวณที่ซับซ้อนได้ จึงเริ่มมีการกลับมาใช้วิธีสมดุลความร้อนในการคำนวณค่าภาระการทำความเย็น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำมากขึ้น ในงานวิจัยนี้ จะเป็นการเปรียบค่าความร้อนที่เข้าสู่พื้นที่ ผลลัพธิ์การคำนวณค่าภาระการทำความเย็น โดยวิธีสมดุลความร้อนและวิธี CLTD โดยมีการนำข้อมูลจริงของ อุณหภูมิภายนอก อัตราส่วนความชื้น และค่าความร้อนจากแสงอาทิตย์ มาใช้งานเพื่อทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ใกล้เคียงความเป็นจริงมากขึ้น โดยมีการเปรียบเทียบในสองกรณี คือ เป็นพื้นที่ที่ไม่มีกระจกและมีกระจก จากผลลัพทธิ์ที่ได้พบว่า ค่าภาระการทำความเย็นที่ได้จากทั้งสองวิธีจะมีค่าต่ำกว่า ความร้อนที่เข้าสู่พื้นที่เนื่องจากผลของการสะสมความร้อน ค่าภาระการทำความเย็นที่ได้จากการคำนวณโดยวิธีสมดุลความร้อนจะมีค่าต่ำกว่า วิธี CLTD เล็กน้อย เนื่องจากผลของการแผ่รังสีความร้อนจากบริเวณที่มีอุณหภูมิสูง สู่บริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำเพื่อให้เข้าสู่จุดสมดุล จะเห็นว่าการคำนวณค่าภาระ การทำความเย็น โดยวิธีสมดุลความร้อนจะให้ผลลัพธิ์ที่มีความสมเหตุสมผลมากกว่า และจะทำให้การออกแบบระบบปรับอากาศมีความประหยัดทั้งด้านการลงทุนและค่าพลังงานไฟฟ้าอีกด้วยภาระการทำความเย็นสมดุลความร้อนการสะสมความร้อนการคำนวณค่าภาระการทำความเย็นโดยใช้วิธีสมดุลความร้อน กรณีศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครThe Cooling Load Calculation by Heat Balance Methods for Bangkok