ทิวากร แก้วสม2562-06-112019-06-112561ทิวากร แก้วสม. 2561. "การจารึกร่องรอยกับงานสถาปัตยกรรม: การซ้อนทับชุมชนโบราณกับงานศิลปะและวัฒนธรรม." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6259วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.พื้นที่ทับซ้อน เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเรามาก จนหลายคนมองข้ามไป บางทีอาจเป็นพื้นที่ที่เราอาศัยอยู่ หรือ พื้นที่ที่เราครอบครองอยู่ ภายใต้ผืนแผ่นดินที่เราเหยียบย้ำล้วนมีประวัติความเป็นมา บางพื้นที่อาจมีความสำคัญมากจนได้ขึ้นเป็นมรดกแห่งชาติ บางพื้นที่ก็มีความเป็นมาที่ยาวนาน จนมาตกอยู่ในรุ่นของเราเองแต่เรากลับไม่รู้เลยว่าที่ตรงนั้นมีความเป็นมาอย่างไร เราควรศึกษาและลองมองย้อนกลับไปในพื้นที่ใกล้ตัว อาจทำให้เห็นความสำคัญของพื้นที่นั้นและได้ศึกษาเรียนรู้เรื่องราวบางอย่างมากขึ้น การศึกษาเรื่องพื้นที่ทับซ้อน จะมุ่งเน้นไปในทางประวัติศาสตร์ที่เป็นโบราณสถานที่สำคัญเคยเป็นสิ่งที่ปกป้องเราจากการรุกรานของชนชาติอื่น ๆ จะศึกษาลึกลงไปถึงรายละเอียดแต่ละยุคสมัย และ ศึกษาเรื่องราว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนแต่ละยุคว่ามีวิถีชีวิตอย่างไร บ้านเรือนมีความเป็นมาอย่างไร ได้รับอิทธิพลมาจากชนชาติอื่นหรือไม่ การนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบจะเน้นไปในทางการอนุรักษ์ และ รักษาพื้นที่ที่มีประวัติศาสตร์ ให้คงอยู่แม้ว่าจะมีสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาก็จริงแต่สิ่งที่เคยเกิดขึ้นก็สำคัญไม่แพ้กัน อดีตสามารถบอกอนาคตได้ งานสถาปัตยกรรมก็เช่นกันที่ เมื่อครั้งอดีตก็เป็นต้นแบบ ในการออกแบบ หรือ สรรค์สร้างผลงานใหม่ๆขึ้นมาแม้ว่าจะมีรูปแบบที่เปลี่ยนไปมากก็ตามthPalimpsestพื้นที่ทับซ้อนการจารึกร่องรอยกับงานสถาปัตยกรรม: การซ้อนทับชุมชนโบราณกับงานศิลปะและวัฒนธรรมPALIMPSET AND ARCHITECTURE: ART AND CULTURAL CENTER OF HISTORICAL COMMUNITY TRACINGOther