กวิน พินสำราญ , อัมพวรรณ หนูพระอินทร์ , อดิศักดิ์ ทูลธรรม , วันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์ , พุธิตา รัตน์ประโคน2565-11-012022-11-012565-05-25https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8565การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดระบบการผลิตแบบโตโยต้าโดยเน้นการ ควบคุมพื้นที่การทำงาน (Work Site Control) และพัฒนาบัตรงาน (Job Card) ในกระบวนการผลิต เพื่อทำให้การปฏิบัติเป็นไปตามมาตรฐาน (Standardization) และสามารถควบคุมได้ด้วยสายตา (Visual Control) ในการตรวจสอบสภาพการทำงานหน้างานในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาบัตรงานในกระบวนการผลิต ได้แก่ บัตรควบคุมกำลังคน บัตรควบคุม คุณภาพการผลิต บัตรควบคุมเครื่องจักร และบัตรควบคุมชิ้นส่วนและวัตถุดิบ รวมถึงการกำหนด เกณฑ์การปฏิบัติ 3 ระดับ ได้แก่ Bronze คือ มีการทำสะสางและสะดวก Silver คือ มีการควบคุม มาตรฐานความปลอดภัย และGold คือ สามารถควบคุมการทำงานด้วยสายตาตามเป้าหมายและ มาตรฐานที่วางไว้ ผลคะแนนการประเมินคุณภาพบัตรงานเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.93) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านประโยชน์การใช้งานบัตรงานมีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ( =4.12) รองลงมา คือ ด้านการใช้งานบัตรงาน ( =3.88) และด้านเนื้อหาบนบัตรงาน ( =3.81) ตามลำดับthระบบการผลิตแบบโตโยต้า , การควบคุมได้ด้วยสายตา , การกำหนดมาตรฐาน , บัตรงานการศึกษาแนวคิดระบบการผลิตแบบโตโยต้าเพื่อพัฒนาบัตรงานในกระบวนการผลิต