ฑิฆัมพร มัทยาท2562-03-092019-03-092562-03-09https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6123บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านรูปแบบภาวะผู้นำของพนักงานฝ่ายผลิต (2) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นด้านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิต (3) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันซึ่งประกอบด้วย อายุ ระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน และแผนกงานที่ปฏิบัติ ที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิต และ (4) เพื่อศึกษารูปแบบภาวะผู้นำที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิต ขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานฝ่ายผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในบริษัทแห่งหนึ่ง จำนวน 114 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบค่าที เปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่โดยวิธี LSD และสมการถดถอย ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นด้านรูปแบบภาวะผู้นำในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ระดับความคิดเห็นด้านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิต อยู่ในระดับมากที่สุด (3) ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำต่างกัน 4) ปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความผูกพันต่อองค์กรต่างกัน และรูปแบบภาวะผู้นำตามทฤษฎี Path-Goal Theory ส่งผลต่อ ความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05thรูปแบบภาวะผู้นำความผูกพันต่อองค์กรพนักงานอุตสาหกรรมยานยนต์ฉะเชิงเทรารูปแบบภาวะผู้นาที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานฝ่ายผลิตอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์บริษัทแห่งหนึ่ง ในเขตอำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทราLEADERSHIP STYLES AFFECTING ORGANIZATIONAL COMMITMENT OF OPERATION EMPLOYEES OF AN AUTOMOTIVE PART MANUFACTURER IN BANPHO DISTRICT CHACHOENGSAO PROVINCEThesis