ธนกร ดรรชนีมาศ2556-10-162556-10-162556-10-16https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4427นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีการศึกษาวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาหลักแนวคิด ทฤษฎีและหลักกฎหมาย รวมทั้งปัญหาการ จัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้กฎหมายผังเมือง จากปัญหาดังกล่าวพบว่า การที่กฎหมายผังเมือง กำหนดให้มีการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเพียงครั้งเดียว เพื่อให้การวางและ จัดทำผังเมืองรวมเป็นไปได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว และสอดคล้องกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นการไม่เหมาะสม จากปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาเห็นว่าการประชุมเพียงครั้ง เดียวหรือมากกว่านั้นก็มิใช่ปัญหา แต่ปัญหาที่สำคัญคือการดำเนินการแต่ละครั้งต้องให้ประชาชนมี ส่วนร่วมในการจัดการ ส่วนปัญหาการใช้อำนาจในการวางและจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมายผัง เมือง คณะกรรมการผังเมืองไม่ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในลำดับฝ่ายบริหาร ส่งผลต่อการเข้ามา แทรกแซงของฝ่ายบริหารในระดับสูงกว่าและก่อให้เกิดความไม่เป็นอิสระและความเป็นกลางใน การปฏิบัติงาน นอกจากนั้นปัญหาการเยียวยาก็ยังไม่ปรากฏความชัดเจนในกฎหมายไม่ว่าจะเป็น พระราชบัญญัติผังเมืองเอง หรือพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ยังขาดข้อบัญญัติที่ชัดเจนในเรื่องการชดเชยเยียวยา ผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินการผังเมือง ทั้งนี้ เนื่องจากกฎหมายผังเมืองของไทยไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการเยียวยาของผู้มีส่วนได้เสียจากการวางผัง เมือง ดังนั้น ผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติผังเมืองโดยเพิ่มมาตรการในการเยียวยา หรือบทบัญญัติในการเยียวยาสำหรับผู้มีส่วนได้เสีย และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนโดย สามารถใช้เกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายของฝรั่งเศสเป็นแนวทางการในการกำหนดและสิทธิ ได้รับการชดใช้เยียวยาของผู้ที่ได้รับความเสียหายจากภาระจำยอมเพื่อประโยชน์สาธารณะotherการจัดผังเมืองสิ่งแวดล้อมชุมชนปัญหาทางกฎหมายผังเมืองในการจัดการสิ่งแวดล้อมในชุมชนThesis