ณัฐิยาภรณ์ ประเทืองผล2562-09-072019-09-072562ณัฐิยาภรณ์ ประเทืองผล. 2562. "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กและความรับผิดทางกฎหมาย." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6355ณัฐิยาภรณ์ ประเทืองผล.ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กและความรับผิดทางกฎหมาย. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายธุรกิจ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ. 2562การศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (Car Seat) และความรับผิดทางกฎหมาย ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำหนดมาตรฐานเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก และความรับผิดทางแพ่ง โดยศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายของประเทศญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกา ผลการศึกษาพบว่า ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3998 (พ.ศ. 2552) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 โดยกำหนดคำนิยามที่นั่งนิรภัยสำหรับเด็ก (Child Restraint) ปรากฏอยู่ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 721-2551 โดยเป็นไปตามRegulation No.44 of the United Nation Economic Commission of Europe (UN/ECE Regulation No.44) แต่ไม่ได้มีการออกกฎหมายบังคับใช้เกี่ยวกับเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็ก ในขณะที่ประเทศญี่ปุ่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี และสหรัฐอเมริกาได้มีการบัญญัติกฎหมายไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ประเทศไทยก็ไม่ได้กำหนดให้ จุดยึด(International Organization for Standardization Standard ISO 13216 :ISOFIX) หรือจุดเชื่อมต่อระบบยึดเหนี่ยวเด็กเข้ากับยานพาหนะ ส่งผลให้รถยนต์ที่จำหน่ายในประเทศไทยอาจจะไม่เคร่งครัดในเรื่องนี้ ซึ่งต่างกับประเทศแถบยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาที่กำหนดให้รถยนต์ใหม่ทุกรุ่นจะต้องติดตั้ง ISOFIX หรือจุดเชื่อมต่อระบบยึดเหนี่ยวเด็กเข้ากับยานพาหนะ พร้อมกับ Top Tether หรือสมอสำหรับยึดรั้งด้านบนของเบาะนั่งเด็กมาจากโรงงาน และรถยนต์ทุกคันที่วิ่งบนถนนจะต้องติดตั้ง ISOFIX นอกจากนี้เรื่องความรับผิดทางละเมิดตามมาตรา 420 หากความเสียหายไม่ได้เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ แต่เกิดจากผู้ผลิตประมาทเลินเล่อ เช่นนี้ถือว่าผู้ผลิตนั้นมีความผิด และหากความเสียหายเกิดจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัยผู้ประกอบการจะต้องรับผิดเมื่อได้มีการขายให้แก่ผู้บริโภคแล้ว นอกจากนี้การดำเนินการตามกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานเบาะนั่งนิรภัยของประเทศไทยยังขาดกฎหมาย หรือข้อบังคับที่กำหนดให้ความสำคัญเกี่ยวกับการให้ความดูแลความปลอดภัยของชีวิตผู้โดยสารเด็กรวมไปถึงการติดตั้งเบาะนั่งนิรภัยเด็กที่เหมาะสมกับสรีระร่างกายของผู้โดยสารเด็ก สารนิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอแนะให้มีการออกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กขึ้นมาบังคับใช้ โดยกำหนดให้ เด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี เว้นแต่เด็กที่มีความสูงน้อยกว่า 150 เซนติเมตร แม้จะมีอายุเกิน 12 ปีแต่ไม่ถึง 14 ปีต้องใช้เบาะนั่งนิรภัย หรือเบาะเสริมให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัว ดังนั้นเด็กตามปกติจะสามารถเริ่มใช้ที่นั่งได้ตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป อีกทั้งควรกำหนดให้รถยนต์ที่จะจำหน่ายในประเทศไทยจะต้องติดตั้ง ISOFIX หรือจุดการเชื่อมต่อระบบยึดเหนี่ยวเด็กเข้ากับยานพาหนะ และควรกำหนดให้รถยนต์ทุกคันที่วิ่งบนถนนจะต้องติดตั้งจุดเชื่อมต่อระบบยึดเหนี่ยวเด็กเข้ากับยานพาหนะ รวมไปถึงควรให้ความสำคัญที่จะกำหนดมาตรฐานในรายละเอียดเกี่ยวกับการใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กโดยคำนึงถึงสรีระของเด็ก และ ควรกำหนดให้ผู้ขับขี่ยานพาหนะที่ไม่ใช้เบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กมีความผิดตามกฎหมายอาญา และต้องรับโทษทางอาญาthเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กมาตรฐานอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยความรับผิดทางกฎหมายปัญหากฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของเบาะนั่งนิรภัยสำหรับเด็กและความรับผิดทางกฎหมายLEGAL PROBLEMS ON SAFETY EQUIPMENT STANDARD OF CAR SEAT AND LEGAL LIABILITYOther