วีระชาต์ บันลือสมบัติกุล2551-06-262551-06-262551-06-26https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1182จากลักษณะของการเกิดสัญญาประกันภัย กฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องทำสัญญาตามแบบอย่างใด เพียงแต่มีการตกลงกันด้วยวาจาสัญญาก็ย่อมเกิดขึ้นได้ โดยในทางปฏิบัติผู้เอาประกันภัยจะเป็นผู้กรอกใบคำขอเอาประกันภัยที่ทางบริษัทผู้รับประกันภัยจัดเตรียมไว้ให้ซึ่งเรียกว่าสัญญาสำเร็จรูป หรือ สัญญามาตรฐาน และเมื่อสัญญาได้เกิดขึ้นแล้วบริษัทผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้ภายหลัง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า กรมธรรม์ประกันภัยต้องมีเนื้อความตรงกันตามสัญญาประกันภัยที่ตกลงกันไว้ แต่ปรากฏว่าในการออกกรมธรรม์ประกันภัยดังกล่าว ผู้รับประกันภัยมักจะเพิ่มเติมเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดเข้ามาในกรมธรรม์ประกันภัย ซึ่งข้อความเหล่านี้จะไมปรากฏอยู่ในใบคำขอเอาประกันมาก่อน จึงเป็นการเอาเปรียบคู่สัญญา ถือเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรมดังจะเห็นได้จากคำร้องเรียนที่มีมายังกรมการประกันภัย กระทรวงพาณิชย์ ตลอดทั้งข้อพิพาทในศาลยุติธรรมอันเนื่องมาจากเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดในกรมธรรม์ประกันภัยประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม และเพื่อลดช่องว่างของการทำสัญญาประกันภัยรวมทั้งลด ข้อพิพาทที่มีคดีขึ้นสู่ศาลและเพื่อให้เป็นไปตามหลักความสุจริตอย่างยิ่งในการทำสัญญาประกันภัย บริษัทผู้รับประกันภัยควรจะเปิดเผยเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยให้ผู้เอาประกันภัยได้ทราบรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญทั้งหมดที่อยู่ในเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันภัย อันจะทำให้ข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับเงื่อนไขข้อจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์ประกันภัยหมดไป เพราะต่างฝ่ายต่างรู้ถึงเงื่อนไขในการทำสัญญาซึ่งกันและกัน ดังนั้น เพื่อให้การทำประกันภัยได้รับความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจจากผู้เอาประกันภัยในการทำสัญญา บริษัทจึงสมควรที่จะแนะนำตัวแทนหรือนายหน้าประกันของบริษัทให้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับข้อจำกัดความรับผิดที่เป็นสาระสำคัญของสัญญาให้กับผู้เอาประกันภัยได้ทราบด้วย และควรเขียนข้อจำกัดความรับผิดของบริษัทประกันภัยรวมถึงกำหนดระยะเวลาที่แน่นอนในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้กับผู้เอาประกันภัยกรณีได้รับความเสียหายตามสัญญาไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยเพื่อให้ผู้เอาประกันภัยจะได้ทราบถึงสิทธิเรียกร้องของตนเองในเวลาที่เกิดความเสียหายขึ้น จากสภาพปัญหาของสัญญาประกันภัยที่มีความไม่ชัดเจน เคลือบคลุม ก่อให้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมขึ้นกับผู้เอาประกันภัย และความไม่ชัดเจนในการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกรณีเมื่อเกิดวินาศภัยตามที่ระบุไว้ในสัญญาประกันภัยขึ้นก็จะมีการประวิงการจ่ายค่าสินไหมทดแทน รวมถึงการคำนวณการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยพิทักษ์ร้านทอง ก็มีการชดใช้ให้ไม่เต็มตามมูลค่าความเสียหายที่แท้จริงที่ผู้เอาประกันภัยได้รับ ซึ่งข้าพเจ้ามีความสนใจและเห็นถึงความจำเป็นว่าจะต้องทำสารนิพนธ์เรื่องนี้ เพื่อที่จะศึกษาและนำผลของการวิเคราะห์ปัญหาที่พบมาเป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุง แก้ไข หรือเพิ่มเติมกฎระเบียบหรือกฎหมายที่ใช้อยู่ให้มีประสิทธิภาพต้องตามวัตถุประสงค์ของการประกันภัยให้เกิดความถูกต้อง เหมาะสมและเป็นธรรมต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องในสัญญาประกันภัยต่อไปกฎหมายประกันภัยมาตรการทางกฎหมายร้านทองมาตรการทางกฎหมายในกรมธรรม์ประกันภัยร้านทองThesis