วีนัส หมุดธรรม2556-10-162556-10-162556-10-16https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4431นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีการศึกษาของผู้ศึกษาได้พบว่า สิทธิของจำเลยในคดีอาญาตามกระบวนการยุติธรรมของ ประเทศไทย ซึ่งมีกฎหมายรัฐธรรมนูญได้กล่าวถึงหลักสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้อย่าง ชัดเจน รวมถึงสิทธิของจำเลยในคดีอาญาที่ปรากฏหลักฐานต่อมาทีหลังว่ามิได้เป็นผู้กระทำ ความผิดจำเลยดังกล่าวนี้จึงสมควรได้รับความเป็นธรรมจากกฎหมายด้วยเช่นกัน จึงทำให้มี หน่วยงานของรัฐเข้ามามีอำนาจในการตรวจสอบและพิจารณาให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่จำเลยใน คดีอาญาดังกล่าว รวมถึงจำเลยที่ถูกยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 และมาตรา 227 ที่ถูกยกฟ้องเช่นเดียวกันแต่ได้รับความเยียวยาช่วยเหลือจากรัฐไม่เสมอภาคกัน กล่าวคือถ้าเป็นจำเลยที่ถูกยกฟ้องตามมาตรา 185 จะได้รับความช่วยเหลือเยียวยาตามขั้นตอนของรัฐ หากเป็นการยกฟ้องตามมาตรา 227 ก็จะไม่ได้รับความช่วยเหลือเยียวยาจากรัฐ จากการศึกษาใน ครั้งนี้จึงมองเห็นสภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยที่ยังให้สิทธิของ ประชาชนไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดยังคงกล่าวถึงสิทธิที่ประชาชนได้รับไม่ทั่วถึงจึงทำให้ขัดกับ กฎหมายรัฐธรรมนูญที่ได้กล่าวถึงเรื่องสิทธิไว้ จากบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นจะเห็นว่าจำเลยในคดีอาญาที่ปรากฏหลักฐานว่ามิได้มีส่วน เกี่ยวข้องในการกระทำความผิดนั้นเป็นผู้มีสิทธิได้รับความคุ้มครองจากรัฐ และยังเป็นผู้ที่สามารถ ยื่นขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจากรัฐ โดยเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมาย ที่บัญญัติในสิทธิของประชาชน การที่รัฐให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนในส่วนของจำเลยในการ ขอรับค่าตอบแทนจากรัฐเพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายของจำเลยที่มิได้เป็นผู้กระทำผิดในคดีนั้น ที่ได้รับความเดือดร้อนในระหว่างคดียังไม่สิ้นสุดไม่ว่าจะเป็นค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ ค่ารักษาพยาบาลหากได้รับความเจ็บป่วย รวมไปถึงอันตรายได้นับแต่วันที่มีคำพิพากษาว่ามิได้เป็น ผู้กระทำความผิดจริง จำเลยที่ศาลพิจารณาแล้วว่าไม่ได้มีความผิดจริงสามารถมีสิทธิในการขอความ ช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ให้ เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 40 (5) ใน การขอรับค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาต้องเป็นตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติค่าตอบแทน ผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 สิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาประเทศไทยนั้นยังคงมีปัญหาบาง ประการที่ต้องเร่งพัฒนาในเรื่องสิทธิโดยเฉพาะสิทธิของจำเลยในคดีอาญาในการยกฟ้องตาม กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 และมาตรา 227 ที่กล่าวถึงการยกฟ้องจึงควรให้สิทธิแก่ จำเลยในคดีอาญาไม่ว่าจะเป็นการยกฟ้องตามมาตราไหนก็ควรได้รับสิทธิในการช่วยเหลือเยียวยา จากรัฐโดยเท่าเทียมกันและพัฒนากฎหมายให้เทียบทันกฎหมายต่างประเทศเพื่อนำไปสู่การแก้ไข ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการยุติธรรมของไทยotherสิทธิของประชาชนกระบวนการยุติธรรมการขอรับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายจำเลยคดีอาญาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิของประชาชนในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา: ศึกษากรณีการขอรับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญาThesis