เสาวนีย์ คลังทอง2564-06-242021-06-242547https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/7651การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาปัญหาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในจังหวัดชลบุรี จำแนกตามระดับชั้นยศ ประสบการณ์ และสถานที่ตั้งของสถานีตำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในจังหวัดชลบุรี จำนวน 468 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ คะแนนเฉลี่ย ความเบี่ยนเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัญหาการป้องกันอาชญากรรมในจังหวัดชลบุรี โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ปัญหาการขาดแคลนด้านงบประมาณในการจัดทำแผนป้องกันอย่างต่อเนื่อง และกำลังสายตรวจมีไม่เพียงพอกับปริมาณงานและพื้นที่รับผิดชอบ 2. ปัญหาการปราบปรามอาชญากรรมในจังหวัดชลบุรี โดยรวมมีปัญหาอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ผู้ปฏิบัติงานขาดขวัญและกำลังใจเนื่องจากผลตอบแทนที่ไม่เหมาะสมกับความเสี่ยงภัย ยานพาหนะและเครื่องมือสื่อสารในการติดตามจับกุมไม่เพียงพอ 3. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มียศต่างกัน มีปัญหาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมไม่แตกต่างกัน 4. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีประสบการณ์ต่างกัน มีปัญหาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีประสบการณ์มากมีปัญหาการป้องกันอาชญากรรมน้อยกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีประสบการณ์น้อย 5. เจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีที่ตั้งของสถานีตำรวจในเขตเสี่ยงภัยมากและเขตเสี่ยงภัยน้อย มีปัญหาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีที่ตั้งของสถานีตำรวจในเขตเสี่ยงภัยมากมีปัญหาการป้องกันอาชญากรรมมากกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีที่ตั้งของสถานีตำรวจในเขตเสี่ยงภัยน้อยthอาชญากรรมการป้องกันปัญหาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมในจังหวัดชลบุรีThesis