เสถียรพงษ์ คำนนท์2553-05-182553-05-182553-05-18https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1711สารนิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษาแนวทางแก้ไข ปัญหากฎหมาย ที่ใช้ควบคุม หรือบังคับใช้ในการทำเหมืองแร่หินประดับ ประเภทหินทราย โดยศึกษาวิเคราะห์เฉพาะการประกอบธุรกิจ การค้า และการทำเหมืองแร่หินประดับประเภทหินทราย ที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และจังหวัดนครราชสีมา เนื่องจากการประกอบกิจการ การค้าส่วนใหญ่ เกิดปัญหาในเรื่องบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับ ยังหาความสมบูรณ์เกี่ยวกับกิจการเหมืองแร่หินประดับ ไม่เหมาะสม ขาดสภาพบังคับอย่างแท้จริง ไม่มีความชัดเจน และไม่มีการบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากพระราชบัญญัติเหมืองแร่ในปัจจุบันล้าสมัย จึงไม่เหมาะสม กับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน การทำสารนิพนธ์นี้ จึงได้มีการศึกษา และเสนอแนะให้มีการแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติของกฎหมาย สภาพบังคับแห่งการใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย หน่วยงานในความรับผิดชอบ หน่วยงานที่กำกับดูแลในด้านของการบังคับใช้กฎหมาย ไม่เหมาะสมกับสภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมอุตสาหกรรม และการเหมืองแร่ ควรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมาย และตรวจสอบการประกอบกิจการ และการประกอบธุรกิจโดยตรง อีกทั้งไม่สามารถที่จะเข้าตรวจสอบ หรือบังคับตามกฎหมายได้ สืบเนื่องมาจากความล้าหลังของกฎหมายพระราชบัญญัติเหมือแร่ จึงสมควรให้แก้ไขกฎหมายเสียใหม่ ให้มีความทันสมัยเหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน โดยการออกกฎหมาย หรือแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติดังกล่าว และออกกฎหมายรับรอง และให้มีผลบังคับใช้กับผู้ประกอบกิจการด้านการทำเหมือง และการประกอบธุรกิจหินประดับประเภทหินทรายโดยตรง อีกทั้งในส่วนของการแก้ไขปัญหาด้านสภาพสิ่งแวดล้อม และในท้องถิ่นที่มีการทำเหมือง ติดตั้งเครื่องจักร หรือโรงงานตักหินดังกล่าวในปัญหาหน้าดิน สภาพผิวดิน ตลอดจนมลพิษด้านฝุ่นละออง เสียง การระบายน้ำ แหล่งกักเก็บน้ำ คลองสาธารณะและเห็นควรให้เจ้าหน้าที่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในท้องถิ่น เช่นสภาองค์การบริหารส่วนตำบล การปลูกสร้างจิตสำนึกของผู้ประกอบการ และประชาชนในท้องถิ่นให้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว หากมีเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการกำกับดูแล ในเบื้องต้นกฎหมายการประกอบธุรกิจเหมืองแร่หินทรายปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบธุรกิจเหมืองแร่หินประดับ ชนิดหินทราย