ธนภณ สมหวังDhanapon Somwang2562-04-232019-04-232561-12-20ธนภณ สมหวัง.(2018).การบูรณาการพุทธธรรมเพื่อพัฒนาสังคมไทย : แนวความคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต). ในการประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 13 ประจาํ ปี 2561. (น.1291-1300). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุมhttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6181บทความนี้ต้องการศึกษาถึงแนวคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ. ปยุตฺโต) ที่มีต่อการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาสังคมไทย โดยการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารที่เป็นผลงานของท่าน ผลการศึกษาพบว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เห็นว่าสังคมไทยมีความโน้มเอียงในการพัฒนาประเทศตามแบบอย่างสังคมตะวันตก และวิถีการดำเนินชีวิตของคนไทยในปัจจุบัน อยู่ภายใต้ยุคโลกาภิวัตน์ที่ได้สร้างสภาพการณ์ใหม่ๆ ให้กับบุคคลและสังคมอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในขณะเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดภาวะผกผัน เป็นโลกแห่งความย้อนแย้งกันอยู่ในตัว สภาพของสังคมไทยในปัจจุบัน จึงไม่ได้เผชิญหน้ากับปัญหาอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์อันเป็นเรื่องของยุคสมัยเท่านั้น หากแต่ยังเผชิญกับปัญหารุนแรงที่เป็นพื้นฐานของปัญหาโลกทั้งหมด คือ รากฐานความคิดหรือกระบวนทัศน์ที่ผิดพลาด (มิจฉาทิฏฐิ) ซึ่งครอบงำอารยธรรมของมนุษย์ในปัจจุบัน 3 ประการ คือ การมองเพื่อนมนุษย์แยกต่างหากจากธรรมชาติ มีฐานะเป็นเจ้าของผู้สามารถครอบครอง และพิชิตธรรมชาติได้ ซึ่งเป็นความคิดที่ผิดพลาดนำไปสู่วิกฤตการณ์ของมนุษย์และสังคมในปัจจุบัน ท่านจึงนำเสนอว่า การพัฒนาสังคมไทย นอกจากจะต้องเข้าถึงพื้นฐานของสังคมไทย และมีความรู้ความเข้าใจ รู้เท่าทันความเป็นไปของกระแสโลกาภิวัตน์แล้ว หลักพุทธธรรมหรือหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ก็ควรเป็นหลักพื้นฐานในการพัฒนาสังคมไทย ที่จะสร้างสรรค์ความผสมกลมกลืน และสร้างดุลยภาพแห่งชีวิตของบุคคล ทั้งในด้านพฤติกรรม จิตใจ และสติปัญญา ในขณะเดียวกันก็จะเชื่อมโยงชีวิตที่ดีงามเข้ากับธรรมชาติแวดล้อม และสังคมอย่างยั่งยืนthบูรณาการสังคมไทยพุทธธรรมการพัฒนาการบูรณาการพุทธธรรมเพื่อพัฒนาสังคมไทย : แนวความคิดของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)Article