ณัฐกมล ถุงสุวรรณ2565-08-132022-08-132565-05-20International Exhibitionhttps://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8368พื้นที่ในส่วนของต่างจังหวัดแต่ละภาคของประเทศไทยมีวัฒนธรรมที่มีความโดดเด่นมีความหลากหลายทั้งในด้านของสิ่งก่อสร้าง สภาพแวดล้อม ศิลปะและวัฒนธรรมที่อยู่ในพื้นที่ ซึ่งแสดงออกมาได้หลายรูปแบบ เช่น ทางสถาปัตยกรรม ศิลปกรรม อาหารและอื่น ๆ ด้วยความโดดเด่นทางวัฒนธรมไทยที่แสดงออกด้วยความแตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ ด้วยการใช้ชีวิตที่อาจต้องมีการย้ายถิ่นฐานด้วยความจำเป็นบางประการของแต่ละคนทำให้การนึกถึงสถานที่ต่าง ๆ ที่เคยอยู่อาศัยเป็นความสุขในใจเมื่อได้ย้อนคิดไปถึงภาพเหล่านั้น เกิดเป็นภาพจำที่นึกถึงเมื่อไรก็สร้างความสุขให้เกิดขึ้นในใจได้ การนำเสนอภาพจำที่เป็นเรื่องราวที่ได้รับรู้หรือที่อยู่ในความทรงจำสามารถถ่ายทอดผ่านการแสดงออกได้จากหลายรูปแบบ และเพื่อเป็นการเผยแพร่เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม คุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรม ให้เป็นที่รู้จักกว้างขวางออกไป และเป็นเครื่องมือสำคัญในการสืบทอดวัฒนธรรมให้คงอยู่ต่อไป (ดร.กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ, 2555, P. 139) จากการเห็นความสำคัญของการเผยแพร่ความสวยงามและคุณค่าของวัฒนธรรมไทยที่อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ที่เป็นภาพจำอันจะเป็นการอนุรักษ์และบอกเล่าเรื่องราวต่อคนรุ่นใหม่ การเลือกใช้สื่อในการสื่อสารที่เข้ากับคนรุ่นใหม่จึงมีแนวคิดในการถ่ายทอดภาพความสวยงามของพื้นที่ผ่านภาพกราฟิกในแนวทางร่วมสมัยด้วยการใช้รูปแบบของงานศิลปะในแนว Stylized หรือการแสดงออกทางภาพที่เป็นกราฟิกแบบเข้ากับยุคสมัย ใช้ความโดดเด่นของวัตถุในภาพให้สะดุดตา (Egenfeldt-Nielsen et al, 2015) ซึ่งภาพกราฟิกในรูปแบบนี้โดยรวมเป็นการนำเสนอภาพที่มีการตัดทอนในรายละเอียดให้ดูง่ายขึ้น เพิ่มหรือลดสัดส่วนแบบเกินจริงเพื่อให้เกิดความโดดเด่นของสิ่งที่ต้องการนำเสนอ โดยภาพในรูปแบบนี้จะเหมาะสมกันได้ดีและพัฒนาได้ไม่ยากกับการสร้างภาพในเชิงของดิจิทัลอาร์ตส์จากโปรแกรมคอมพิวเตอร์เนื่องจากลดทอนความสมจริงบางส่วนออกไป ด้วยแนวคิดในการต้องการสื่อสารความสวยงามของพื้นที่ทางธรรมชาติและวัฒนธรรมที่แสดงออกผ่านทางงานสถาปัตยกรรมที่เป็นพุทธศาสนสถาน อาคารบ้านเรือนและสภาพแวดล้อม ที่เป็นภาพจำของผู้เขียนเพื่อแสดงออกผ่านงานศิลปะในรูปแบบของภาพกราฟิกดิจิทังอาร์ตส์ ธรรมช่าติ วัฒนธรรมHometown CountrysideWorking Paper