บุศรา เมตตา2556-10-162556-10-162556-10-16http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/4426นิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีการศึกษาเรื่องปัญหากฎหมายในการดำเนินงานของสำนักงานป้องกันและปราบปราม การฟอกเงิน: ศึกษากรณีการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่น่าสงสัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวความคิดเกี่ยวกับการฟอกเงินของไทยและต่างประเทศ การใช้ดุลพินิจการเข้าถึงข้อมูลและ หลักการกำหนดให้การฟอกเงินเป็นความผิดทางอาญา (2) มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการ เข้าถึงข้อมูลของเจ้าหน้าที่ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทั้งของประเทศไทย และต่างประเทศ (3) วิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึงข้อมูลของเจ้าหน้าที่ ของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ และ (4) กำหนดมาตรการและข้อเสนอแนะในการเข้าถึงข้อมูลของผู้กระทำผิดฐานฟอกเงินและคุ้มครอง สิทธิเสรีภาพของประชาชน ผลการศึกษาพบว่าตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 (1) มาตรา 38 (3) ให้อำนาจมากเกินไปแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในการเรียกให้สถาบันการเงิน หรือส่วนราชการส่งข้อมูลหรือหลักฐานมายังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (2) การบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ ป.ป.ง. ในการให้ผู้ประกอบการส่งมอบข้อมูลใน ธุรกรรมที่น่าสงสัยประการ เช่น มาตรการในการเข้าถึงบัญชี ข้อมูลทางการสื่อสารและข้อมูลทาง คอมพิวเตอร์ตามมาตรา 46 หลายครั้งเกิดจากเงื่อนไขการใช้อำนาจที่ไม่เหมาะสม ขาดความชัดเจน (3) การใช้ดุลพินิจพิจารณาธุรกรรมของพนักงานเจ้าหน้าที่ ในการปฎิบัติตามกฎหมายหลาย ครั้งขาดพยานหลักฐาน และไม่มีเหตุผลเพียงพอทำให้เกิดความเสียหาย(4) การเก็บรวบรวมพยานหลักฐานเพื่อดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ตามพระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 ไม่มีบทกำหนดโทษ และไม่มีอำนาจเข้าสู่ระบบคอม- พิวเตอร์ผ่านระบบอินเตอร์เนตของสถาบันการเงินได้โดยตรง ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะสำหรับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ดังนี้ (1) ควรจะพิจารณาให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกระเบียบกำหนด องค์ประกอบหลัก- ฐานและเหตุผลในการปฎิบัติหน้าที่ ตาม มาตรา 38 ของ กรรมการธุรกรรม เลขาธิการ และพนักงาน เจ้าหน้าที่ (2) ควรหามาตรการการใช้อำนาจเกินกว่าเหตุของพนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งอาจเป็นความผิด ตามกฎหมาย และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน จะต้องรับผิดต่อความเสียหายที่อาจ จะเกิดขึ้น (3) ควรจะพิจารณาให้ความเห็นต่อรัฐมนตรีในการออกระเบียบกำหนด องค์ประกอบของ การใช้ดุลพินิจ อันประกอบด้วย การใช้ดุลพินิจที่ไม่ขัดกับหลักกฎหมาย ไม่เกินขอบเขตที่กฎหมาย กำหนด ไม่บิดเบือนวัตถุประสงค์ของกฎหมายการฟอกเงิน มีขั้นตอนการพิจารณา มีพยานหลักฐาน หรือมีพยานบุคคล มีเหตุผลเพียงพอ และหรือข้อกำหนดอื่นๆ (4) ควรให้มีกฎหมายกำหนดบทลงโทษ ผู้เจตนาปกปิดรายการธุรกรรม การทำข้อมูลให้ สับสนเกินกว่าที่ควรจะเป็น การส่งรายการล่าช้า การบันทึกรายการธุรกรรมล่าช้า ให้กำหนดโทษ สมควรกับขนาดของธุรกรรมotherการฟอกเงินธุรกรรมการเข้าถึงข้อมูลการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินปัญหากฎหมายในการดำเนินงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน: ศึกษากรณีการเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับธุรกรรมที่น่าสงสัยThesis