อมร, ถุงสุวรรณ2551-06-112551-06-112550https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1152การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะและพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การ รวมถึง ความยุติธรรมในเชิงกระบวนการ ความยุติธรรมในเชิงผลตอบแทน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับลูกน้อง ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงเหตุผล เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบ หรือเป็นสาเหตุแห่งพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การ โดยมีตัวแปรอิสระ หรือตัวแปรที่เป็นสาเหตุแห่งพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การ ประกอบด้วย ความยุติธรรมในเชิงกระบวนการ ความยุติธรรมในเชิงผลตอบแทน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา มีตัวแปรตาม คือพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การและมีตัวแปรควบคุม คือ อายุ อายุงาน และ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือพนักงานและผู้บังคับบัญชาของบริษัท ไอซีซี อินเตอร์เนชัลแนล ซึ่งเป็นบริษัทในเครือสหพัฒน์ หน่วยการวิเคราะห์ ของการศึกษาวิจัยนี้เป็นแบบการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นรายคู่ กล่าวคือข้อมูลหนึ่งหน่วยต้องได้มาจากทั้งผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา ผลจากการวิจัยพบว่าความยุติธรรมในเชิงกระบวนการ ความยุติธรรมในเชิงผลตอบแทน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับลูกน้อง การรับรู้การสนับสนุนช่วยเหลือจากองค์การ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การ อายุและอายุงานมีความสัมพันธ์ในเชิงลบกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การ ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุเชิงชั้น ปรากฏว่าความยุติธรรมในเชิงกระบวนการ ความยุติธรรมในเชิงผลตอบแทน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชา มีอำนาจการอธิบายการผันแปรของพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การความยุติธรรมในเชิงกระบวนการความยุติธรรมในเชิงผลตอบแทนการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การผลกระทบของความยุติธรรมและปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับบัญชาที่มีต่อพฤติกรรมการปฏิบัติงานเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์การTHE EFFECTS OF ORGANIZATIONAL JUSTICE AND LEADER-MEMBER EXCHANGE ON CITIZENSHIP PERFORMANCEArticle