รัตนาวลี ทิพยมณฑล2019-11-072019-11-072562รัตนาวลี ทิพยมณฑล. 2562. "ปัญหาการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์แห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551." สารนิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6431รัตนาวลี ทิพยมณฑล. ปัญหาการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์แห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551. สารนิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต กลุ่มวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม พ.ศ.2562.สารนิพนธ์ฉบับนี้ทำการศึกษาในเรื่องของปัญหาการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์แห่งชาติ รวมถึงองค์กรผู้พิจารณาอุทธรณ์ ระยะเวลาการพิจารณาอุทธรณ์และการใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติและนายทะเบียน เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายและไม่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน จากการศึกษาพบว่า ปัญหาองค์กรผู้พิจารณาการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 มีองค์ประกอบของคณะกรรมการจำนวน 27 คน ซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่ ประกอบกับมาตรา 66 และมาตรา 67 แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551 กำหนดกรอบระยะเวลาพิจารณาอุทธรณ์ ต้องดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ จึงเป็นปัญหาในส่วนขององค์ประชุมของคณะกรรมการและหากผู้อุทธรณ์ส่งเอกสารไม่ครบถ้วนจะถือว่าเห็นด้วยกับคำอุทธรณ์ อีกทั้ง การใช้ดุลพินิจของคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์และนายทะเบียน ยังขาดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจน ปัญหาดังกล่าวจึงทำให้การบังคับใช้กฎหมายไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551thคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์แห่งชาติการอุทธรณ์ปัญหาการพิจารณาอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์แห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551PROBLEMS OF APPEAL CONSIDERATION OF THE NATIONAL FILM CENSORSHIP COMMITTEE UNDER THE FILM AND VIDEO ACT B.E. 2551 (2008)Other