วิชชากร เฮงศรีธวัชรุจิพรรณ สัมปันณาวงศกร คล่องคดีรัฐ2565-11-292022-11-292565-10-27การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ครั้งที่ 17http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8736บทความนี้นำเสนอแนวทางวิธีลดทอนปัญหาฮาร์มอนิกของโรงงานอุตสาหกรรม โดยการจำลองผลด้วยโปรแกรม ETAP จากกรณีศึกษาของบริษัท ไทยอีทอกซีเลท จำกัด ซึ่งมีการใช้ชุดปรับความถี่แบบ 6 พัลส์ สำหรับควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์เหนี่ยวนำสามเฟส จำนวน 6 ตัว ขนาดกำลังรวม 311 kW ทำให้เกิดปัญหากระแสฮาร์มอนิกที่มีคุณลักษณะของอันดับ 5 และอันดับ 7 ค่อนข้างสูง รวมถึงมีค่าผลรวมความผิดเพี้ยนแรงดันฮาร์มอนิกเกินมาตรฐาน ผลการจำลองแสดงให้เห็นแนวทางการแก้ปัญหาฮาร์มอนิกสามารถทำได้หลายกรณี โดยที่ระดับการทำงานของโหลดมีค่า 75% ของพิกัด ควรเลือกใช้วิธีการติดตั้งตัวกรองฮาร์มอนิกอันดับที่ 5 และ 7 ณ ตำแหน่งบัสเดียวกับชุดปรับความเร็วรอบมอเตอร์ สำหรับการทำงานเต็มพิกัด 100% ควรติดตั้งตัวกรองฮาร์มอนิกอันดับที่ 5 และ 7 ณ ตำแหน่งเดียวกับชุดคาปาซิเตอร์สำหรับปรับค่าตัวประกอบกำลังของโรงงาน ทั้งนี้โดยพิจารณาจากค่าต่ำสุดของผลรวมความผิดเพี้ยนแรงดันฮาร์มอนิกไม่เกิน 5% เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการอื่นๆthชุดปรับความถี่แบบ 6 พัลส์ฮาร์มอนิกตัวกรองฮาร์มอนิกการจำลองวิธีลดทอนฮาร์มอนิกของโรงงานอุตสาหกรรมด้วยโปรแกรม ETAPArticle