สุพัฒตรา เกษราพงศ์2552-02-132552-02-132551https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1325ได้รับทุนอุดหนุนงานวิจัยสำหรับบุคลากรภายใน ปีการศึกษา 2550งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และแจกแจงลักษณะการเกิดของเสีย ผลกระทบที่เกิดจากของเสีย และหาสาเหตุที่ทำให้เกิดของเสีย โดยประยุกต์ใช้เทคนิค FMEA ในกระบวนการปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนต์ รวมไปถึงปรับปรุงแก้ไขสาเหตุต่าง ๆ ที่ได้จากผลการวิเคราะห์ FMEA การวิจัยศึกษาชิ้นส่วนรถยนต์ในโรงงงานกรณีศึกษา เลือกชิ้นส่วนที่มีสัดส่วนของเสียเกิดขึ้นสูงสุด 5 ลำดับแรก คือชิ้นส่วน A01, A02, A03, A04 และ A05 ผลจากการวิเคราะห์โดยใช้ FMEA สามารถแจกแจงลักษณะการเกิดของเสียได้เป็น 5 ประเภท คือ Dimension, Apperance, Miss Process, Wrong Part และ Function ซึ่งสาเหตุส่วนมากเกิดจากพนักงาน,วิธีปฏิบัติงาน, การตั้งค่าพารามิเตอร์ของเครื่องจักร, ความไม่พร้อมของเครื่องจักร และการชำรุดของแม่พิมพ์ ได้ทำการปรับปรุงโดยจัดทำระบบ Poka-Yoke ,เอกสารวิธีการปฏิบัติงาน, เอกสารQ-Point, อบรมพนักงาน,ออกแบบการทดลองเพื่อหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม และจัดทำระบบซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน จากการปรับปรุงพบว่า ชิ้นส่วน A01 มีสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุง4.2172% หลังการปรับปรุงครั้งที่ 1 และ 2 มีของเสีย 0.2796%และ0.0537% ชิ้นส่วน A02 มีสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุง2.2771% หลังการปรับปรุงครั้งที่ 1 และ 2 มีของเสีย 0.1110%และ0% ชิ้นส่วน A03มีสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุง2.0896% หลังการปรับปรุงครั้งที่ 1 และ 2 มีของเสีย 0.1831%และ0.0344% ชิ้นส่วน A04 มีสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุง1.5511% หลังการปรับปรุงครั้งที่ 1 และ 2 มีของเสีย0.1905%และ0.0156% ชิ้นส่วน A05มีสัดส่วนของเสียก่อนการปรับปรุง0.6113% หลังการปรับปรุงครั้งที่ 1 และ 2 มีของเสีย0.2775%และ0.1513%เทคนิค FMEAชิ้นส่วนรถยนต์การลดของเสียกระบวนการปั๊มขึ้นรูปการประยุกต์ใช้เทคนิค FMEA ในการวิเคราะห์และลดของเสียในกระบวนการปั๊มขึ้นรูปชิ้นส่วนโครงเหล็กของรถยนต์An Application of FMEA Technique for Analysis and Defect Reduction in Automotive Body Steel Press Parts