ธนากร เอี่ยมปาน2566-10-042023-10-042562-12ธนากร เอี่ยมปาน. การบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน.(2562). วารสารศรีปทุมปริทัศน์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ , 19(2) , กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม. 166 - 176.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9394บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน โดยมีหัวข้อที่สำคัญ คือ (1) วิวัฒนาการของความปลอดภัยการบิน (2) ทฤษฎีความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน (3) แนวทางการบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบิน และ (4) การวิเคราะห์อากาศยานอุบัติเหตุ Air France Flight 447 จากการศึกษามีข้อเสนอแนะว่า นักบินต้องเรียนรู้การปฏิบัติงานด้านการบินและทบทวนศึกษาแนวทางการจัดการความผิดพลาดในการบิน ได้แก่ (1) ความผิดพลาดจากการทำรายการตรวจสอบ (2) ความผิดพลาดจากการติดต่อสื่อสาร (3) ความผิดพลาดจากการไม่ปฏิบัติตามระเบียบวิธีปฏิบัติ และ (4) ความผิดพลาดจากการวางแผนการบิน โดยในช่วงห้าปีที่ผ่านมามีการเติบโตของปริมาณการจราจรทางอากาศในแต่ละปีโดยเฉลี่ย 6.50% และนักบินมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการควบคุมบังคับเครื่องบิน จากสถิติของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุพบว่ามีสาเหตุหลักของการเกิดอากาศยานอุบัติเหตุมากกว่า 70.00% เกี่ยวข้องกับปัจจัยมนุษย์ (นักบิน) นักบินจำเป็นที่จะต้องนำความรู้ความสามารถที่ได้รับจากการเรียนการสอนมาใช้ในการบังคับควบคุมเครื่องบิน ดังนั้น นักบินต้องแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นเพื่อให้การปฏิบัติการบินมีความปลอดภัย ซึ่งความปลอดภัยทางการบินจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมการบิน โดยมีจุดมุ่งหมายในการรักษาชีวิตของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ทรัพยากรและเพิ่มผลผลิตthการบริหารความผิดพลาดของมนุษย์human error managementการบริหารความผิดพลาดของมนุษย์ในการบินArticle