พัชนิตา ตั้งสุณาวรรณ2560-05-242560-05-242017-05-242017-05-242560พัชนิตา ตั้งสุณาวรรณ. 2557. "ความสัมพันธ์ระหว่าง รูปแบบวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ กับแรงจูงใจในการทำงาน กรณีศึกษา สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก." การค้นคว้าอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5216การค้นคว้าอิสระหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาด้านการจัดการ, มหาวิทยาลัยศรีปทุมการค้นคว้าอิสระในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อต้องการ 1. เพื่อศึกษาระดับของวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ ของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก 2. เพื่อศึกษาระดับแรงจูงใจในการทำงาน ของกำลังพลสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก 3. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ กับแรงจูงใจในการทำงานของกำลังพลสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล นำผลจากแบบสอบถามมาทดสอบหา ความเชื่อมั่น (Reliability Coefficient) มีค่าเท่ากับ 0.955 ประชากรเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ กำลังพลสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบกจำนวน 56 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติแบบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้ เพียร์สัน (Pearson’ s Product Movement Correlation) โดยการศึกษาครั้งนี้จะมุ่งเน้นประเด็นเฉพาะด้านรูปแบบวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ และแรงจูงใจในการทำงานด้านปัจจัยจูงใจในงาน ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า รูปแบบวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ ใน 4 ด้าน คือ การมุ่งเน้นความสำเร็จ การมุ่งเน้นไมตรีสัมพันธ์ การมุ่งเน้นความเป็นตนเอง และการมุ่งเน้นบุคคล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแรงจูงใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ. 01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ที่ .537, .652, .667 และ673 ตามลำดับ คือ มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางถึงระดับสูง The purpose of this research was study about. 1. Perception level of constructive culture type 2. Perception level of work motivation 3. Relation between constructive culture type and work motivation of staff in The Royal Thai Army Research and Development Office. The questionnaire was used to collect data. The results of the questionnaire to test for Confidence (Reliability Coefficient) is equal to 0.955. In this study. The population were 70 staff of The Royal Thai Army Research and Development Office. Analyzed data by using computer software which contain: percentage, mean, standard deviation, Pearson’ s Product Movement Correlation .The study focuses on a Constructive Culture type of organizational culture and Work Motivation. The hypothesis testing found Constructive Culture type in 4 domains: Achievement culture, Affiliative culture, Self Actualization culture and Humanistic Encouraging culture showed positive relationship with Work Motivation. Correlation was significant at the .01 level and Pearson Correlation .537, .652, .667 and .673 showed respectively that relationship between medium - high level.thวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์แรงจูงใจในการทำงานCONSTRUCTIVE CULTUREWORK MOTIVATIONวัฒนธรรมองค์การทฤษฎีแรงจูงใจความสัมพันธ์ระหว่าง รูปแบบวัฒนธรรมองค์การลักษณะสร้างสรรค์ กับแรงจูงใจในการทำงาน กรณีศึกษา สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบกTHE RELATIONSHIP BETWEEN THE CONSTRUCTIVE CULTURE TYPE AND WORK MOTIVATION CASE STUDY THE ROYAL THAI ARMY RESEARCH AND DEVELOPMENTOther