จีระวัฒน์ คงโต2562-03-072019-03-072562-03-07https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/5944นิติศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการกระจายอานาจการปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดปกครองตนเอง ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหน่วยงานราชการที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนในท้องที่มากที่สุด โดยเฉพาะการกระจายอานาจการปกครองส่วนท้องถิ่นในการเพิ่มบทบาทหน้าที่ให้กับประชาชนในการควบคุมตรวจสอบการใช้อานาจของระดับจังหวัดและระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเป็นการกระจายอานาจทางปกครองจากส่วนกลางไปยังส่วนภูมิภาคแล้วกระจายอานาจเข้าสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังได้กาหนดอานาจหน้าที่ในการจัดบริการสาธารณะระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การจัดสรรภาษีระหว่างรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยคานึงถึงภารกิจเป็นสาคัญภายใต้การดาเนินการของคณะกรรมการการกระจายอานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้ให้ความสาคัญต่อการกระจายอานาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่า การปกครองส่วนท้องถิ่นในปัจจุบันเผชิญกับปัญหาหลายด้าน อาทิเช่น โครงสร้าง ภาระหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การคลังท้องถิ่น การบริหารงานบุคคล การมีส่วนร่วมของภาคประชาชน และการกากับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งต้องมีการปฏิรูปการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเสียใหม่โดยการปรับโครงสร้างการบริหารราชการให้เหลือเพียงราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่นเท่านั้น โดยยกเลิกราชการส่วนภูมิภาคและกาหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น กาหนดให้การปกครองส่วนท้องถิ่นมีสภาพลเมืองซึ่งต่างจากการมีสมาชิกสภา มีคณะผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง กาหนดให้สภาพลเมืองมีบทบาทหน้าที่ในการบริหารราชการและตรวจสอบการทางานของข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจา ทั้งนี้ให้มีส่วนร่วมในอานาจออกข้อบัญญัติเพื่อจัดเก็บภาษีและจัดทางบประมาณของจังหวัดภายใต้กรอบอานาจที่กาหนดไว้ ดังนั้น ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการปรับปรุงการบริหารราชการแผ่นดินเสียใหม่โดยปรับเปลี่ยนการปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นการปกครองแบบบริหารจัดการเองทั้งจังหวัดหรือเรียกว่า จังหวัดปกครองตนเอง โดยมีอานาจบริหารราชการตามหลักความเป็นอิสระแยกจากราชการส่วนกลาง มีหลักการตรวจสอบการใช้อานาจของจังหวัดปกครองตนเอง มีอิสระในการบริหารงานแต่ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมตรวจสอบในด้านการบริหาร การคลัง การบริหารงานบุคคล และการออกข้อบัญญัติต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญthการกระจายอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นการกระจายอานาจการปกครองส่วนท้องถิ่นของจังหวัดปกครองตนเองLOCAL ADMINISTRATIVE DECENTRALIZATION OF SELF ADMINISTRATIVE PROVINCEThesis