ธรินี มณีศรีวันวิสา ด่วนตระกูลศิลป์วัชรพล สิงหะเนติ2562-08-232019-08-232561-12-20ไม่มีไม่มีไม่มีhttp://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6352ไม่มีงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาการบริหารจัดการวางแผนการขนส่งสินค้า และพัฒนาระบบบริหารการจัดการขนส่ง (TMS) เพื่อลดระยะเวลาในการวางแผนการขนส่ง ลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น และลดข้อผิดพลาดในการทำงานต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น งานวิจัยได้ทำการศึกษาในภาพรวมของการบริหารจัดการขนส่งสินค้า พร้อมทั้งเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดของบริษัทกรณีศึกษา นำไปทำการวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบ TMS จากนั้นจึงนำผลประสิทธิภาพโลจิสติกส์ที่ได้มาทำการเปรียบเทียบก่อนและหลังการนำระบบ TMS มาใช้ ซึ่งผลการวิจัยพบว่าจากการปรับปรุงกระบวนการทำงาน และการนำระบบ TMS มาใช้สามารถลดกระบวนการทำงานที่ไม่จำเป็นออกได้ และทำการเพิ่มกระบวนการทำงานที่จำเป็นเข้าไปแทน โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ซึ่งขั้นตอนในการทำงานแบบเดิมมีทั้งหมด 13 ขั้นตอน ส่วนขั้นตอนในการทำงานแบบปรับปรุงมีทั้งหมด 12 ขั้นตอน ลดลงมา 1 ขั้นตอน ในส่วนของระยะเวลาในการทำงาน การทำงานแบบเดิมใช้เวลาทั้งหมด 1,025 นาที และการทำงานแบบปรับปรุงใช้เวลาทั้งหมด 965 นาที ลดระยะเวลาลงมา 60 นาที คิดเป็นร้อยละ 5.85thระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าประสิทธิภาพโลจิสติกส์กระบวนการทำงานการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการขนส่งสินค้าTHE DEVELOPMENT OF TRANSPORTATION MANAGEMENT SYSTEM CASE STUDY: TRANSPORTATION SERVICE PROVIDERArticle