สิรินธร สินจินดาวงศ์กรกฎ ผกาแก้วภาณุเดช ประทุมมา2567-03-192024-03-192567-02การประชุมวิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 8 “ทิศทางการศึกษาไทยเพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานในยุคดิจิทัล” ปีพ.ศ. 2567, หน้า 116-128http://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9628วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy) ด้านการสอนของอาจารย์ใหม่ 2) เพื่อ พัฒนาหลักสูตร สำหรับพัฒนาศักยภาพอาจารย์ด้านการสอนตามแนวทางอาจารย์มืออาชีพ กลุ่มเป้าหมายเป็นอาจารย์ที่ สมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาอาจารย์ใหม่ ปีการศึกษา 2566จำนวน 33คน โดยกลุ่มตัวอย่างใช้การเลือกแบบเจาะจง (Purposive selection) เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Self-Efficacy) และหลักสูตร พัฒนาอาจารย์ใหม่ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์ด้วยสถิติพื้นฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการรับรู้ความสามารถของตนเอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมีความมั่นใจระดับมาก (x̅ = 4.33, S.D. = 0.65) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับสูง โดยด้านความพร้อม อยู่ในระดับมาก (x̅ = 4.40, S.D. = 0.59) ด้านความรู้ (x̅ = 4.33, S.D. = 0.68) และด้านทักษะการสอน (x̅ = 4.25, S.D. = 0.66) ตามลำดับ 2) หลักสูตร สำหรับพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ ประกอบด้วย 4 โมดูล ได้แก่โมดูล 1 องค์ความรู้ (Knowledge) โมดูล 2 การจัดการเรียนรู้และการสอน (Active Learning & Teaching) โมดูล 3 การพัฒนาคุณค่า อาจารย์ (Value Teacher) และโมดูล 4 การมุ่งเน้นผู้เรียน (Student Focus) ลักษณะการจัดการพัฒนาอาจารย์ใหม่ ประกอบด้วยโค้ช หรืออาจารย์พี่เลี้ยง และการเรียนรู้แบบผสมผสาน ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนรู้ในหลาย รูปแบบ ร่วมกับการเรียนรู้แบบเผชิญหน้า และมีการฝึกอบรมกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่มีกระบวนการที่ยืดหยุ่น ระยะเวลาในการพัฒนา 2 ภาคการศึกษาthหลักสูตรอาจารย์ใหมการรับรู้ความสามารถของตนเองศักยภาพด้านการสอนการเรียนรู้แบบผสมผสานการพัฒนาหลักสูตรต้นแบบ สำหรับพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่ด้านการสอน สู่มืออาชีพThe Development of Master Course for Developing the Teaching Potential of new instructors to enhance ProfessionalsArticle