ไพบูลย์ ปัญญาคะโป2567-02-062024-02-062567-01-25ไพบูลย์ ปัญญาคะโป (2567) การเสริมกำลังต้านทานแรงเฉือนของผนังก่อคอนกรีตมวลเบาด้วยตะแกรงเหล็กฉีก การประชุมวิชาการคอนกรีตประจำปีครั้งที่ 18 วันที่ 25-27 มกราคม 2567 จ.นครราชสีมา หน้าที่ 251-256.-https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9512-ผนังก่ออิฐในโครงอาคารภายใต้แรงกระทำแผ่นดินไหว มักจะเกิดการแตกร้าวในลักษณะแรงเฉือนได้ง่าย ดังนั้นการเสริมกำลังเฉือนของผนังก่ออิฐจะทำให้เพิ่มกำลังต้านทานแผ่นดินไหวของอาคารได้ บทความนี้นำเสนอกำลังต้านทานแรงเฉือนของผนังก่อคอนกรีตมวลเบาที่เสริมกำลังด้วยตะแกรงเหล็กฉีก เพื่อปรับปรุงกำลังต้านทานแรงแผ่นดินไหว โดยใช้ตะแกรงเหล็กฉีกที่มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะแตกต่างกัน 4 ขนาด และตะแกรงลวดตาข่ายสี่เหลี่ยม 1 ขนาด และใช้วิธีการยึดตะแกรงเหล็กกับแผ่นผนังเปรียบเทียบระหว่างวิธีที่ 1 การยึดด้วยสกรูและวิธีที่ 2 การยึดด้วยสลักขันเกลียว โดยได้เตรียมผนังก่อตัวอย่างควบคุม 1 ตัวอย่าง และผนังก่อเสริมกำลัง 10 ตัวอย่าง และทดสอบกำลังเฉือนตามมาตรฐานการทดสอบกำลังดึงแนวทแยง (แรงเฉือน)ของผนังก่อ ผลการทดสอบพบว่ากำลังเฉือนของผนังก่อเสริมกำลังมีกำลังเพิ่มขึ้น 1.13-2.14 เท่าสำหรับการยึดด้วยสกรู และ 1.17-2.17 เท่าสำหรับการยึดด้วยสลักขันเกลียว ตะแกรงเหล็กฉีกที่มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะสูงทำให้กำลังเฉือนของผนังก่อสูงเพิ่มขึ้นด้วย และวิธีการยึดด้วยสลักขันเกลียวช่วยทำให้มีการพัฒนาค่ากำลังเฉือนของผนังก่อให้สูงเพิ่มขึ้นกว่าวิธีการใช้สกรู โดยเฉพาะตะแกรงเหล็กฉีกที่มีขนาดขาและช่องเปิดขนาดใหญ่thกำลังเฉือนคอนกรีตมวลเบาตะแกรงเหล็กฉีกการเสริมกำลังการเสริมกำลังต้านทานแรงเฉือนของผนังก่อคอนกรีตมวลเบาด้วยตะแกรงเหล็กฉีกArticle