มานะ มงคลพีรพิทักษ์2552-04-232552-04-232552-04-23https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1423การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับขวัญและกำลังใจของพนักงาน บริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด และเปรียบเทียบระดับขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด จำแนกตามเพศ อายุ สถานภาพ วุฒิการศึกษา ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานบริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัดเดือนกรกฏาคม ปี 2549 จำนวน 317 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมีลักษณะเป็นคำถามปลายปิดและแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way analysis of variance) ผลการวิจัยพบว่า 1. พนักงาน บริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด มีระดับขวัญและกำลังใจในการ ปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 2. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด โดยรวมจำแนกตาม เพศ อายุ สถานภาพ พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด โดยรวมจำแนกตามวุฒิการศึกษา และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้าน สวัสดิการของบริษัท และ ลักษณะงานที่ปฏิบัติ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในด้านสภาพแวดล้อมในการปฏิบัติงาน ตามลำดับ บริการโรงพยาบาลเอกชนและคลินิกในเครือข่าย มีความคิดเห็นต่อบริการทางการแพทย์ด้านข้อมูลข่าวสารและให้คำปรึกษามากกว่าโรงพยาบาลรัฐบาลและคลินิกในเครือข่ายการทำงานขวัญและกำลังใจการปฏิบัติงานบริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัดศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของการทำงานที่มีผลต่อขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน บริษัท อุตสาหกรรม แอคมิ จำกัด