ณัฐธีรยา วิชกิจ2562-03-082019-03-082562-03-08https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6017นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีวิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพและความงามผ่านทางอินเทอร์เน็ตที่มีการอ้างสรรพคุณเกินจริงและให้ข้อมูลที่ทำให้ ผู้บริโภคสับสนระหว่างการโฆษณายาเป็ นเครื่องสำอางหรือเป็ นอาหาร รวมทั้งการโฆษณา เปรียบเทียบสินค้าของตนเองกับสินค้าของผู้อื่น จากการศึกษาพบว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2552 ซึ่งเป็นกฎหมายหลักใน การคุ้มครองผู้บริโภคไม่ปรากฏมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อ สุขภาพและความงามบนอินเทอร์เน็ตก่อให้เกิดปัญหาการใช้สื่อหลอกลวงผู้บริโภคให้ได้รับความ เสียหายต่อร่างกายและสุขภาพและไม่มีหน่วยงานเข้ามาควบคุมและมีอำนาจหน้าที่ในการ ตรวจสอบการโฆษณาดังกล่าว แม้จะมีคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคที่ดูแลการโฆษณา แต่พบว่า อำนาจหน้าที่ยังผูกพันกับคณะกรรมการที่รับผิดชอบโดยตรงในเรื่องของฉลากที่จะต้องโฆษณา ตามที่กำหนดไว้ในฉลากก่อน จากการศึกษาขอเสนอแนะว่า ควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 โดยกำหนดให้การควบคุมโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามบนอินเทอร์เน็ตอยู่ ภายใต้คำนิยามของกฎหมายดังกล่าวและเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ให้คลอบคลุมกับการโฆษณาผ่านสื่ออินเทอร์เน็ตเพื่อให้เป็นการประกันความเป็นธรรมให้แก่ ผู้บริโภคในการได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายที่กำหนดthการควบคุมการโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามอินเทอร์เน็ตมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมโฆษณาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและ ความงามบนอินเทอร์เน็ตLEGAL MEASURES REGARDING CONTROL OF ADVERTISEMENT OF HEALTH PRODUCTS AND BEAUTY PRODUCTS ON INTERNETThesis