สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์2567-07-032024-07-032567-02-15สมเกียรติ กรวยสวัสดิ์.(2567).พืชพลังงานหมุนเวียนเขียวสยามใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง แก๊สชีวภาพและชีวมวลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน. ในการประชุมวิชาการประจำปีเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 8.กรุงเทพฯ :ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9785ชีวมวล ที่ผลิตจากหญ้าเนเปียร์พันธุ์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) จุดประสงค์หลักทั้งหมดเพื่อผลิตวัสดุพลังงานเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลอย่างยั่งยืนการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลผลิต ศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพ ชีวมวลอัดเม็ด และชีวมวล ที่ผลิตจากหญ้าเนเปียร์พันธุ์เขียวสยาม (pennisetum purpureum Schumach) จุดประสงค์หลักทั้งหมดเพื่อผลิตวัสดุพลังงานเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลอย่างยั่งยืน ซึ่งประการแรกหญ้าเขียวสยามให้ผลผลิตสูงสุดถึง 105 ตันต่อไร่ต่อปี ประการที่สองมีการวิเคราะห์การทดลองนี้ด้วยวิธี VDI 4630 โดยแสดงศักยภาพการผลิตแก๊สชีวภาพได้ 456 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 144 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด อย่างไรก็ตามจากผลการศึกษาพบว่าหญ้าสดมีศักยภาพในการผลิตแก๊สมีเทน 257 ลูกบาศก์เมตรต่อตันของวัตถุอินทรีย์แห้ง หรือ 81 ลูกบาศก์เมตรต่อตันหญ้าสด ประการที่สามการผลิตชีวมวลอัดเม็ดจากหญ้าในช่วงอายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธีมาตรฐาน ASTM D7582-15 พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value คือ 4,137.9 และ 3,815.0 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งหญ้าที่ตรวจวัดมีความชื้นรวมเท่ากับร้อยละ 10.10 และความหนาแน่นรวมเท่ากับ 1,222.73 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ประการสุดท้ายหญ้านี้ก็ถูกใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยช่วงการตัดที่อายุ 120 วัน ผลการวิเคราะห์โดยวิธี ASTM D5865-11a พบว่าค่า Gross Calorific Value และ Net Calorific Value ที่น้ำหนักแห้ง เท่ากับ 4,406 และ 4,109 กิโลแคลอรีต่อกิโลกรัม หรือ 18.44 และ 17.19 เมกะจูลต่อกิโลกรัม ตามลำดับthหญ้าเนเปียร์ แก๊สชีวภาพ พลังงานหมุนเวียน ระบบถังกวนสมบูรณ์แบบไม่ใช้อากาศNapier, Biogas, Renewable energy, CSTRพืชพลังงานหมุนเวียนเขียวสยามใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเชื้อเพลิง แก๊สชีวภาพและชีวมวลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนUsing Kiew Siam Napier Grass as Fuel For a 3 Megawatt Biogas Community Power PlantArticle