สิรินธร สินจินดาวงศ์ผุสดี กลิ่นเกษร2563-07-262020-07-262563-02-02การประชุมวิชาการ และเผยแพร่ผลงานวิจัยคัดสรร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ระดับชาติ หัวข้อ การศึกษายุคสิรินธร สินจินดาวงศ์ และ ผุสดี กลิ่นเกษร. 2563. การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงวัย. “Digital Disruption in Education” ในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมชาโต เดอ เขาใหญ่ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา. หน้า 70-83.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6787การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมดของแต่ละบุคคล ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงตายที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยที่มีรูปแบบหลากหลายและมีความต่อเนื่องในชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลุ่มบุคคลผู้สูงวัยให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะชีวิตในการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืน พร้อมที่จะดำรงชีวิต ประกอบอาชีพ และปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงวัยจึงเป็นการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรี มีคุณภาพชีวิตที่ดี สามารถพึ่งตนเองได้นานที่สุดและสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม โดยมีการนำหลักการเรียนรู้สำหรับวัยผู้ใหญ่ (Adult learning) มาเป็นศาสตร์และศิลป์ในการช่วยให้ผู้สูงวัยได้เรียนรู้ โดยผู้ใหญ่จะมีการเรียนรู้ที่ต่างจากเด็ก 4 ประการ ได้แก่ 1) ความเข้าใจต่อตนเอง (Self-concept) 2) ประสบการณ์ (Experience) 3) ความพร้อมที่จะเรียนรู้ (Readiness to Learn) และ 4) เป้าหมายในการเรียนรู้ (Goal to Learning) เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงวัยมีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และพัฒนาไปสู่การเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างยั่งยืนthการเรียนรู้ตลอดชีวิตผู้สูงวัยการศึกษาการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้สูงวัยLifelong Learning for the ElderlyArticle