ทีปกร คุณาพรวิวัฒนวรพจน์ พันธ์คงอภิรักษ์ สวัสดิ์กิจจิรายุ ยอดปัญญาสุขใจ พรมประสานสุข2565-07-182022-07-182564-10-28(e-book) 978-974-655-469-5https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8340การทำเกษตรสมัยใหม่เกษตรกรสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและเหมาะสม โดยอาศัยข้อมูล การปลูกพืชแบบเรียลไทม์ทำให้ช่วยเพิ่มผลผลิตและผลตอบแทนจากการลงทุน โดยควบคุมการทำงานของ อุณหภูมิและความชื้นให้เหมาะสมกับพืชใดๆ แบบอัตโนมัติ และส่งสัญญาณไปยังคลาวด์ เพื่อเก็บข้อมูลและ แสดงผล ดังนั้นทางทีมวิจัยจึงมีความคิดในการพัฒนาระบบ ควบคุมโรงเรือนขนาดเล็ก เพื่อที่จะวัดอุณหภูมิและ ควบคุมความชื้น โครงสร้างทำมาจากผ้าคลุมพอลิโพรไพลีนในการคลุมพื้นที่ และใช้พลาสติกรองดิน ทดสอบการเจริญเติบโตของเมล็ดถั่วเขียวและเมล็ดทานตะวันพบว่า เมื่อทำการตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 30 องศาเซลเซียส ความชื้นในดินร้อยละ 55 และความชื้นในโรงเรือนขนาดเล็กอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 50 ถีง 80 จากนั้นทำการวัด ขนาดของต้นถั่วเขียว ในช่วงระยะเวลาทดสอบ 5 วัน อุณหภูมิโดยเฉลี่ยของโรงเรือนอยู่ที่ 30.14 องศาเซลเซียส มีค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 0.46 ค่าความชื้นในดินเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 55.85 มีค่าความคลาดเคลื่อนร้อยละ 1.55 และค่าความชื้นในโรงเรือนขนาดเล็กอยู่ที่ร้อยละ 71.42 ซึ่งอยู่ในช่วงระหว่างที่ทำการกำหนดไว้ เมื่อทำการวัด ขนาดของต้นถั่วเขียวด้วยโปรแกรม ImageJ พบว่า ต้นถั่วเขียวที่ปลูกภายในโรงเรือนขนาดเล็กมีขนาด 220.80 มิลลิเมตร ในขณะปลูกแบบแบบธรรมชาติมีขนาด 70.67 มิลลิเมตร ค่าความแตกต่างร้อยละ 67.89 แสดงให้เห็น ว่าประสิทธิผลโรงเรือนขนาดเล็ก ด้วยระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้นผ่านในระบบปิดผ่านไอโอที ได้ผลผลิตที่ ดีเมื่อมีการนำองค์ความรู้ทางวิศวกรรมเข้ามาปรับใช้อย่างเหมาะสมthโรงเรือนขนาดเล็กการควบคุมแบบย้อนกลับระบบแบบปิดไอโอทีการเพิ่มประสิทธิผลโรงเรือนขนาดเล็กระบบปิด ด้วยระบบควบคุมอุณหภูมิและ ความชื้นผ่านไอโอทีArticle