ณัฐนันท์ จิตต์บรรจง2562-03-082019-03-082562-03-08https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6027นิติศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรีวิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดในการพัฒนากฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงรักษาไว้ซึ่งสิทธิและเสรีภาพของประชาชน การเข้าถึงหลักการและสิทธิทางสิ่งแวดล้อม หลักการและสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การมีส่วนร่วมสาธารณะ การเข้าถึงความยุติธรรมใน คดีสิ่งแวดล้อมและผลประโยชน์ของรัฐจากการสำรวจปิโตรเลียมบนบก จากการศึกษาพบว่า เมื่อมีการพัฒนาการสำรวจปิโตรเลียม ทั้งในด้านการพัฒนาทางเทคโนโลยีในการสำรวจ การผลิต การทดสอบ หรือการนำมาแปรรูปในธุรกิจปิโตรเคมีนั้นก่อให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายที่สามารถนำมาเป็นประเด็นเพื่อการศึกษา อาทิ ปัญหาในการจัดทำผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจากการสำรวจหลุมปิโตรเลียมโดยวิธีคลื่นไหวสะเทือน (seismic survey) ปัญหาในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมโดยการใช้กรดเพื่อเจาะสำรวจหาปริมาณปิโตรเลียมใต้ชั้นหินดินดาน (acidizing) ปัญหาในการเผาทดสอบปริมาณก๊าซเพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชย์ (flaring) และปัญหาในการเยียวยาผลกระทบจากการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมบนบกโดยตรงในประเทศไทย ผู้ศึกษาขอเสนอแนะว่า ควรมีการจัดทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 สำหรับการพัฒนาปิโตรเลียมในทุกกระบวนการและควรมีการจัดทำการประเมินผลวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพในกรณีที่ส่งผลกระทบสะสมทางมลพิษทางสิ่งแวดล้อม ด้านมาตรการในการเยียวยาความมีการยกเว้นให้สามารถอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองเฉพาะกรณีการสำรวจปิโตรเลียมและกำหนดมาตรการด้านนโยบายของรัฐในการมีส่วนร่วมของเจ้าหน้าที่หรือบุคลาการของรัฐในการพัฒนาปิโตรเลียมในทุกโครงการthกฎหมายการสำรวจปิโตรเลียมอุปสรรคทางกฎหมายปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการสำรวจปิโตรเลียมบนบกLEGAL PROBLEMS AND OBSTACLES ON ONSHORE PETROLEUM EXPLORATIONThesis