ณัฐวุฒิ อัศวโกวิทวงศ์ขวัญพร บุนนาคนภัส วัฒโนภาส2563-08-252020-08-252561-12https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6876การศึกษาความเหลื่อมล้ำในเมืองมหานครได้อภิปรายพหุลักษณ์ของอาการและสาเหตุแห่งความเหลื่อมล้ำโดยจำเพาะลงในลักษณะเชิงพื้นที่เมืองของบริบทของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พบว่าการศึกษาก่อนหน้าที่เกี่ยวกับประเด็นความเหลื่อมล้ำมีอยู่จำกัด จากการทบทวนวรรณกรรมของคณะผู้วิจัยได้พบอาการและสาเหตุของความเหลื่อมล้ำอันสามารถอนุมานเพื่อเชื่อมโยงให้เห็นสาเหตุและปรากฏการณ์ความเหลื่อมล้ำของเมืองมหานครภายใต้บริบทของประเทศไทยได้พอสังเขป โดยด้านหนึ่งนั้นเมืองมหานครเป็นภูมิ-เศรษฐกิจที่สัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจและระเบียบโลก (Global City) ในฐานะประตูทางเข้าของระบบทุนเชิงภูมิศาสตร์ (Capital Gateway) ในอีกด้านหนึ่งจากบริบทเฉพาะของประเทศไทยที่การรวมศูนย์เชิงอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจได้ควบแน่นไปกับการพัฒนาและความเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่อย่างกรุงเทพมหานครและขยายตัวออกสู่ปริมณฑล คณะผู้วิจัยสรุปถึงมูลเหตุของกลไกการสร้างความเหลื่อมล้ำซึ่งภาวการณ์นี้ได้ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำต่อคนจนเมือง 3 ด้าน ประกอบด้วย 1) ความเหลื่อมล้ำในทรัพยากรและที่ดินต่อมิติด้านสิทธิที่จะอยู่ในเมือง 2) ความเหลื่อมล้ำในมิติด้านการเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจที่การพัฒนา และ 3) ความเหลื่อมล้ำในมิติการเข้าถึงและการสร้างอำนาจต่อรองทางการเมืองthเมืองมหานครกรุงเทพมหานครความเหลื่อมล้ำในเมืองความเหลื่อมล้ำในเมืองมหานคร: บทปริทรรศน์ความรู้ในบริบทประเทศไทยArticle