สุพรรษา ศิลปเสริฐ2552-08-282552-08-282552-08-28https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1552การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรนั้น กำหนดให้ผู้มีเงินได้ไม่ว่าจะเป็นหน่วยภาษีใดต้องนำเงินได้ที่ตนก่อให้เกิดขึ้นในปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว มาคำนวณยื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีโดยวิธีการประเมินตนเอง (Self–assessment) ตามแบบและวิธีการที่กฎหมายกำหนด และบทบัญญัติแห่งมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ได้บัญญัติให้นำเงินได้ของภรรยาตามมาตรา 40 (2)–(8) มารวมกับเงินได้ของสามีเพื่อคำนวณภาษี การนำเงินได้ของภรรยามารวมกับสามีโดยให้ถือเงินได้ของภรรยาเป็นเงินได้ของสามี ทำให้เงินได้ของสามีซึ่งเป็นฐานภาษีมีจำนวนสูงขึ้น และมีภาระภาษีสูงขึ้น เนื่องจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้นใช้อัตราก้าวหน้า แม้ตามประมวลรัษฎากรให้สิทธิภรรยาสามารถแยกยื่นรายการและภาษีต่างหากจากสามีแต่ตามมาตรา 57 เบญจ จะให้สิทธิภรรยาแยกยื่นรายการและภาษีเงินได้พึงประเมินเฉพาะตามมาตรา 40 (1) อันเป็นรายได้จาก เงินเดือน ค่าจ้างแรงงาน ซึ่งเป็นรายได้จากการใช้น้ำพักน้ำแรง แม้ตามมาตรา 57 ตรี ให้สิทธิภรรยาแยกยื่นรายการและภาษีจากสามีก็ตาม แต่ตามมาตรา 57 ตรี วรรค-สอง การแยกยื่นของภรรยาท้ายสุด ก็ไม่ต่างจากการนำเงินได้ของภรรยาไปถือเป็นเงินได้ของสามี เนื่องจากเงื่อนไขของการแยกยื่นรายการจะต้องไม่ทำให้ภาษีต้องเสียเปลี่ยนแปลงไป นอกจากนั้นสิทธิบางประการในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ การหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนของคู่สมรสในประเทศไทยนั้น ยังไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากการที่ประเทศไทยใช้หลักการรวมเงินได้ (Income Aggregation) บุคคล 1 บุคคล กับคนโสดหรือคู่สมรสที่หย่า หรือไม่ได้จดทะเบียนสมรส ของคู่สมรส ก็เท่ากันกับ คนโสด หรือคู่สมรสที่หย่า หรือไม่ได้จดทะเบียนประการในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ การหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเหมือนกันกับ คนโสด หรือคู่สมรสที่หย่า หรือไม่ได้จดทะเบียนสมรสหรือสิทธิบางอย่างเป็นการไปลดสิทธิของคู่สมรสลง เช่น ในเรื่องของค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม เป็นผลให้คู่สมรสต้องรับภาระภาษีหนักขึ้นอีก เนื่องจากการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้การหักค่าใช้จ่ายลดหย่อนนั้น จะทำให้เงินได้ที่ต้องเสียภาษีลดลง แต่คู่สมรสซึ่งต้องรวมเงินได้เข้าด้วยกันนั้นกลับไม่ได้รับสิทธิ แตกต่างกับคนโสด หรือคู่สมรสที่หย่า หรือไม่ได้จดทะเบียน เป็นผลให้คู่สมรสไม่ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งในต่างประเทศ เช่นในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี และประเทศสิงคโปร์ นั้นได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิบางประการในการได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ การหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน เพื่อให้ประสงค์จะยื่นรวมกันนั้นได้รับสิทธิ ที่แตกต่างจากคนโสด หรือคู่สมรสที่หย่า หรือไม่จดทะเบียนสมรส เพื่อความเป็นธรรมแก่คู่สมรสในการเสียภาษี อีกทั้งการใช้อัตราก้าวหน้าในการคำนวณภาษี การใช้หลักรวมเงินได้คำนวณภาษีเงินได้ของสามีภรรยาได้นำแบบอย่างของประเทศอังกฤษมาใช้บังคับ แต่ปัจจุบันประเทศอังกฤษได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์จัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากสามีภรรยาโดยได้นำหลักการรวมเงินได้แบบมีค่าลดหย่อนพิเศษมาใช้ในการจัดเก็บภาษีเงินได้จากสามีภรรยา โดยให้สิทธิกับภรรยาที่มีเงินได้มีสิทธิในการหักค่าลดหย่อนได้มากกว่า ภรรยาที่ไม่ได้ทำงาน ซึ่งอาจเป็นมาตรการทางภาษีที่มีส่วนในการส่งเสริมให้ผู้หญิงของประเทศอังกฤษมีบทบาทในสังคมสูงขึ้น แต่ประเทศไทยไม่ได้ให้สิทธิดังกล่าว หลักเกณฑ์ตามประมวลกฎหมายรัษฎากร มาตรา 57 ตรี และมาตรา 57 เบญจ นอกจากจะไม่สัมพันธ์กับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบันแล้ว ยังทำให้เกิดความไม่เสมอภาคในการเสียภาษีระหว่างหน่วยภาษีด้วยกัน ดังนั้น ควรมีการปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของคู่สมรสเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากคู่สมรสกับหน่วยภาษีอื่น และเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพปัจจุบัน ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความเท่าเทียมของสิทธิระหว่างชายและหญิง เพื่อให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีได้รับความเป็นธรรมมากขึ้นภาษีรายได้บุคคลธรรมดาคู่สมรสประมวลรัษฎากรปัญหาการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของคู่สมรสตามประมวลรัษฎากร