ณทพงษ์ วิยะรันดร์2551-06-172551-06-172551-06-17https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/1160งานสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้อันอาจมีลิขสิทธิ์ได้ เป็นที่ยอมรับกันว่าต้องเป็นงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มขึ้นเอง (Originality) ของผู้สร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ในลักษณะที่ผู้สร้างสรรค์ได้ใช้ความวิริยะอุตสาหะในการสร้างสรรค์งานนั้น (Creative Effort) งานอันมีลิขสิทธิ์ไม่จำต้องเป็นงานใหม่ที่ไม่มีใครทำมาก่อน (Novelty) เพียงแต่ผู้สร้างสรรค์งานคิดเริ่มขึ้นเองโดยไม่ได้ลอกเลียนแบบกัน แม้งานที่ปรากฏออกมาจะคล้ายคลึงกัน งานเหล่านั้นก็ได้รับความคุ้มครองอย่างงานอันมีลิขสิทธิ์เท่าเทียมกัน และเนื่องจากกฏหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครองผลงานของงานที่เกิดจากความคิดริเริ่มและความวิริยะอุตสาหะของผู้สร้างสรรค์ ฉะนั้น จึงเป็นการคุ้มครองในรูปแบบของงานที่ผู้สร้างแสดงออก (Form of Expression) มิได้ให้ความคุ้มครองแก่ตัวความคิด (Idea) ซึ่งยังมิได้แสดงออกมาเป็นผลงานแต่อย่างใด เช่น ผู้แต่งนวนิยาย เพียงกำหนดเค้าโครงเรื่องที่จะเขียนไว้แต่ยังไม่ทันลงมือเขียน มีผู้แอบเอาเค้าโครงเรื่องนั้นมาเขียนเป็นนวนิยายก่อนเช่นนี้ จะถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ยังไม่ได้ เพราะกฎหมายยังไม่ได้ให้ความคุ้มครองแก่เค้าโครงเรื่องซึ่งยังเป็นเพียงตัวความคิด สิทธิในลิขสิทธิ์เป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียว (Exclusive Right) ของเจ้าของสิทธิในอันที่จะหวงห้ามมิให้บุคคลอื่นมาแสวงหาประโยชน์จากผลงาน อันเกิดจากความวิริยะอุตสาหะในทางสร้างสรรค์ของมนุษย์โดยไม่ได้รับอนุญาต ภาพยนตร์ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทหนึ่งที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้ความคุ้มครอง ซึ่งในงานภาพยนตร์แต่ละเรื่องจะมีงานอันมีลิขสิทธิ์อื่นประกอบอยู่ด้วย อันถือได้ว่างานภาพยนตร์เป็นงานพิเศษซึ่งเป็นการนำเสนอเรื่องราวโดยภาพ จะมีเสียงหรือไม่มีเสียงก็ได้ ดังนั้น เมื่อมีการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานภาพยนตร์ก็ไม่ควรให้เจ้าของงานอันมีลิขสิทธิ์อื่นมีสิทธิเรียกร้องสิทธิในงานที่อยู่ในงานภาพยนตร์ดังกล่าว จึงควรมีการวางแนวทาง เพื่อตีความให้เกิดความเป็นธรรมที่สุดแก่เจ้าของงานภาพยนตร์ ในการมีสิทธิเรียกร้องจากการกระทำละเมิดต่องานภาพยนตร์แต่เพียงผู้เดียว ซึ่งควรพิจารณาจากเจตนาของผู้กระทำละเมิดว่าต้องการกระทำต่องานอันมีลิขสิทธิ์ใดภาพยนตร์ลิขสิทธิ์การคุ้มครองลิขสิทธิ์งานภาพยนตร์ : ปัญหาและแนวทางแก้ไขThesis