วุทธิชัย ลิ้มอรุโณทัยอภิชญา พิภวากรวชิราภรณ์ จีระว่องวิทย์2566-07-022023-07-022565-07-08-978-974-7063-41-7https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/9214-บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์และแนวทางการปรับตัวของธุรกิจโรงแรม สู่อุตสาหกรรมสุขภาพ รวมทั้ง ศึกษาหาแนวทางโอกาสและความท้าทายของธุรกิจโรงแรมสู่อุตสาหกรรมสุขภาพในประเทศไทย ภายใต้สถานการณ์ความไม่ปกติ อันเนื่องมาจากการระบาดของ วิกฤติ COVID-19 และการเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เป็นลักษณะปกติใหม่ (New Normal) โดยมุ่งเน้นไปที่จัดการธุรกิจโรงแรมสู่อุตสาหกรรมธุรกิจเพื่อสุขภาพ เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นผลของการ ผสมผสานการเดินทางท่องเที่ยวและการพักอาศัย ซึ่งมีแรงจูงใจหลักในการรักษาหรือส่งเสริมสุขภาพในโรงแรมแบบเฉพาะทาง เน้นให้การดูแลอย่างเหมาะสม และเป็นการดูแลเฉพาะบุคคล ซึ่งมีบริการเป็นแพ็คเกจ ที่ประกอบด้วย การดูแลสุขภาพร่างกาย ความงาม โภชนาการอาหาร การพักผ่อน การทำสมาธิและกิจกรรมทางจิต การปรับตัวของธุรกิจโรงแรมนั้น เพื่อให้องค์กรหรือ ธุรกิจยังคงดำเนินการและเติบโตต่อไปภายใต้ความเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มจากประเมินสภาพแวดล้อมของโลกด้วยความเข้าใจ (Reassess), ทบทวนศักยภาพของโมเดลธุรกิจ (Review), กำหนดทิศทางใหม่ของธุรกิจที่จะมุ่งไปในอนาคต (Redirect), สร้าง โมเดลธุรกิจใหม่ (Reinvent) และปฏิรูปโครงสร้างองค์กร กระบวนการ และวัฒนธรรมขององค์กร (Reform) อย่างมีความคิด สร้างสรรค์ให้กับธุรกิจ อันเป็นความสามารถในการปรับตัว พัฒนาสินค้าและบริการ เพื่อรองรับตลาดสินค้าและบริการสุขภาพ โดยใช้ความต้องการของตลาดเป็นตัวขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาต้นแบบสินค้าและบริการที่ตรงความต้องการของผู้บริโภคยุคปกติใหม่ (New Normal) เพื่อให้องค์กรหรือธุรกิจยังคงดำเนินการและเติบโตต่อไปภายใต้ความเปลี่ยนแปลงthารปรับตัวของธุรกิจโรงแรม, อุตสาหกรรมสุขภาพ, โควิด-19แนวทางการปรับตัวของธุรกิจโรงแรม ภายหลังวิกฤตโควิด 19 ด้วยการยกระดับสู่อุตสาหกรรม เชิงสุขภาพ-Article