ปิยากร หวังมหาพร2566-01-042023-01-042565-07ปิยากร หวังมหาพร. (2565). การร่วมผลิตในการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา: กรณีศึกษา โรงเรียนประถมในจังหวัดระยอง. วารสารบัณฑิตวิจัยบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. ปีที่ 13 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม) 2565: 45-56. (tci 1)2229-2756 (ตีพิมพ์)2651-1401 (อิเล็กทรอนกิส์)https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/8903การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษากระบวนการร่วมผลิตในการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา กรณีศึกษา โรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดระยอง ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากเอกสารและการสัมภาษณ์ เลือกกรณีศึกษาจากโรงเรียน ที่มีการจัดการศึกษาในรูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนาในจังหวัดระยองจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนวัดเกาะและโรงเรียนบ้านหนองละลอก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ ผลการวิจัยพบว่า โรงเรียนวัดเกาะและโรงเรียนบ้านหนองละลอกจัดการศึกษาในลักษณะการร่วมผลิตประกอบไปด้วย การร่วมวางแผน การร่วมออกแบบ การร่วมจัดส่งบริการ การร่วมติดตามประเมินผล ในรูปแบบคณะกรรมการ ในแต่ละขั้นตอนบทบาทของหน่วยงานที่มีส่วนร่วมจะมีน้ำหนักของบทบาทแตกต่างกันออกไป แรงกระตุ้นที่ทำให้เกิดการร่วมผลิตเกิดจากกฎหมายเป็นตัวกำหนดให้เกิดการร่วมมือกัน และทุนทางสังคมจากความร่วมมือของโรงเรียนกับภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่มีมาก่อนทำให้เกิดความต่อเนื่องของความร่วมมือ การถ่ายทอดองค์ความรู้ในการจัดการเรียนการสอนจากองค์กรภาคประชาสังคม คือ โรงเรียนมีชัยพัฒนา มีผลต่อการออกแบบหลักสูตรและรูปแบบการจัดการเรียนการสอนที่เปลี่ยนจากเดิมที่ผู้เรียนเป็นเพียงผู้รับมาเป็นการจัดการเรียนรู้เชิงรุกที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะอาชีพควบคู่ไปกับความรู้ทางวิชาการ ในการส่งมอบบริการนั้นโรงเรียนยังทำหน้าที่หลัก ครูและนักเรียนร่วมกันขับเคลื่อนโดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง การติดตามประเมินผลมีทั้งการติดตามประเมินผลกิจกรรมและติดตามความคืบหน้าของโครงการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องthการร่วมผลิตโรงเรียนร่วมพัฒนาการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานการจัดการเรียนรู้เชิงรุกการร่วมผลิตในการจัดการศึกษารูปแบบโรงเรียนร่วมพัฒนา: กรณีศึกษา โรงเรียนประถมในจังหวัดระยอง.Article