พิมพ์ชนก อ่องเภา2019-06-082019-06-082561พิมพ์ชนก อ่องเภา. 2561. "เวลาในการออกแบบสถาปัตยกรรม : กรณีศึกษา สถานีรถไฟกรุงเทพ “หัวลำโพง”." ผลงานนักศึกษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.https://dspace.spu.ac.th/handle/123456789/6257วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม หลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเวลากับที่ว่างทางสถาปัตยกรรม ทั้งทางด้านกายภาพและความหมายในเชิงนามธรรมตลอดจนแนวความคิด ที่ตอบสนองการรับรู้ของมนุษย์แล้วนำมาใช้ในการออกแบบที่ว่างทางสถาปัตยกรรม เพื่อให้เกิดความเหมาะสมระหว่างเวลากับพื้นที่มากที่สุด การศึกษาเรื่องเวลาทั้งในเชิงความหมายและในเชิงทฤษฎีด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ปรัชญา ศิลปศาสตร์ และในมุมมองของศาสตร์อื่นๆ เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงองค์ประกอบที่ทำให้เกิดการสื่อความหมายถึงเวลา ซึ่งเป็นการสื่อความหมายในทางตรง จากแนวความคิดนี้ได้เกิดประเด็นอีกส่วนในการสื่อความหมายในสภาวะตรงข้ามเพื่อเป็นแนวคิดในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับเวลาที่ส่งผลต่อกิจกรรม และการใช้ที่ว่าง ลักษณะภาพรวมของการออกแบบที่ว่างทางสถาปัตยกรรมนั้น แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของรูปทรงและพื้นที่ว่าง ตลอดจนการใช้สอยพื้นที่ให้สอดคล้องกับกิจกรรมและสถานที่ โดยใช้ปัจจัยของเวลามาเป็นหลักในการออกแบบที่ว่างเพื่อให้เกิดศักยภาพสูงในการใช้งานกับสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมthทฤษฎีสัมพัทธภาพเวลาในการออกแบบสถาปัตยกรรม : กรณีศึกษา สถานีรถไฟกรุงเทพ “หัวลำโพง”TIME IN ARCHITECTURAL DESIGN : HUALAMPHONG STATION CASE STUDYOther